ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อพระสารีบุตรทราบว่าเขาได้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้วจึงกล่าวลาเขาเพื่อกลับวิหาร เขาตาม
ส่งพระเถระถึงครึ่งทางแล้วกลับ ระหว่างเดินทางกลับ นางยักขิณีซึ่งมีเวรผูกกันในอดีตชาติ ได้เข้าสิง
แม่โคบ้าวิ่งเข้าขวิดเขาล้มลงและเหยียบขยี้ร่างเขาจนถึงแก่ความตาย เมื่อตายแล้ว เขาได้ไปบังเกิดเป็น
เทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต
3.4 อุปฆาตกกรรม
3.4.1 ความหมายของอุปฆาตกกรรม
อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมที่มีหน้าที่เข้าไปฆ่าหรือเข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ ที่มีสภาพตรงกัน
ข้ามกับตนให้สิ้นลงอย่างเด็ดขาด จึงมีชื่อเรียกกรรมนี้อีกอย่างหนึ่งว่า อุปัจเฉทกกรรม ซึ่งแปลว่า กรรมที่
เข้าไปตัด
3.4.2 ลักษณะของอุปฆาตกกรรม
จากความหมายข้างต้นอาจเปรียบอุปฆาตกกรรมเสมือนบุรุษผู้กำลังจะยิงลูกศรที่สามารถไปได้ไกล
ประมาณ 8 อสุภ คือ 14 เส้น ในขณะนั้นมีบุรุษอีกคนหนึ่งถือค้อนยกขึ้นคอยสกัดหน้าลูกศรนั้นไว้ ทำให้ไม่
สามารถที่จะยิงลูกศรออกไปได้จนถึงที่หมาย และให้หมดประสิทธิภาพตกลงยังพื้นดิน อุปฆาตกกรรมก็
เช่นกันเมื่อใดที่ตามมาทันก็ย่อมทำหน้าที่เข้าไปฆ่า เข้าไปตัดกรรมอื่นไม่ให้ผลอย่างเด็ดขาดในปัจจุบันทันด่วน
อุปฆาตกกรรมจึงเป็นปฏิปักษ์ หรือตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม แต่จะสนับสนุน
อุปปีฬกกรรม โดยจะทำหน้าที่เข้าไปฆ่ากรรมอื่นที่ชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรมแต่งไว้ เช่น ชนกกรรม
ชักนำให้มาเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคดี โดยเกิดเป็นลูกเศรษฐี มีปัญญาและหน้าตาดี อุปัตถัมภกกรรมก็
สนับสนุนให้เป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย ทำอะไรก็ล้วนแต่ประสบความสำเร็จ แต่อุปฆาตกกรรมจะเข้า
ทำการตัดรอน เช่น ทำให้ล่มจม หรือเสียชีวิต เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามถ้าชนกกรรมชักนำให้สัตว์เกิดมา
ในตระกูลต่ำ อุปัตถัมภกกรรมก็สนับสนุนให้มีความลำบากแร้นแค้นหนักเข้าอีก แต่ทันทีที่อุปฆาตกกรรมให้
ผลก็ทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้นผิดหูผิดตา เช่น ได้รับความยอมรับในสังคม ประสบผลสำเร็จในชีวิต เป็นต้น
3.4.3 ความแตกต่างกันของอุปปีฬกกรรมกับอุปฆาตกกรรม
ดังที่กล่าวมาแล้วอุปปีฬกกรรม คือ กรรมที่ทำหน้าที่เบียดเบียนกรรมอื่นที่มีสภาพตรงกันข้าม
แต่อุปปีฬกกรรมจะค่อยๆ เบียดเบียนอย่างช้าๆ ไม่รวดเร็วฉับพลัน เช่น ถ้าเป็นอุปปีฬกกรรมฝ่ายอกุศล
เมื่อตามมาทันย่อมเข้าเบียดเบียนกุศลกรรมของมนุษย์ให้ค่อยหมดสิ้นไป ทำให้คนนั้นสิ้นความสุขความเจริญ
66 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม