ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.1.3 กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎกฝ่ายอกุศลกรรม
บุพกรรมของสัตว์นรก 4 ตน
ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุตรเศรษฐี 4 คน เป็น
สหายรักใคร่สนิทสนมกันมาก ทั้ง 4 คนแม้มีทรัพย์สมบัติมาก ก็ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ กลับเป็นผู้ประมาท
ทำแต่บาปอกุศล ไม่ตั้งอยู่ในศีล ประพฤติผิดในภรรยาคนอื่น เมื่อละโลกแล้วได้ไปบังเกิดในโลหกุมภีนรก
รับทุกข์ทรมานมานาน 60,000 ปี สัตว์นรก 4 ตนนั้น เมื่อขึ้นมาถึงขอบปากโลหกุมภีแต่ละตนต่าง
ปรารถนาจะบอกความในใจของตน จึงเปล่งคำพูดออกมา สัตว์นรกตนแรกต้องการจะกล่าวว่า “ทุชชีวิตม
ชีวมหา เยส์ เตน ททามุหเส วิชฺชมาเนสุ โภเคสุ ทีปนฺนากมุห อตฺตโน” แปลว่า พวกเราเมื่อมีโภคทรัพย์
สมบัติอยู่ ไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้ทำที่พึ่งสำหรับตน จัดว่ามีชีวิตอยู่อย่างชั่วช้า แต่สัตว์นรกนั้นไม่สามารถที่จะ
กล่าวคำพูดที่ตนประสงค์จะพูดได้ตามที่ต้องการ จึงแค่กล่าวคำว่า “ท” เท่านั้น ก็ต้องจมหายลงไปใน
หม้อเหล็กร้อนใหญ่โตที่มีไฟนรกลุกไหม้ตลอดเวลา
สัตว์นรกตนที่ 2 ต้องการจะกล่าวว่า “สฏฐิวสฺสสหสุสานิ ปริปุณฺณานิ สพฺพโส นิรเย ปจฺจมานาน
กทา อนฺโต ภวิสฺสติ” แปลว่า เราไหม้อยู่ในนรกตั้ง 60,000 ปีเต็ม ครบทุกอย่าง เมื่อไรจักสิ้นสุดกันเสียที
แต่สัตว์นรกตนนี้ กล่าวได้แค่เพียงอักษรตัวแรกว่า “ส” เท่านั้น ก็จมหายลงไปในหม้อเหล็กร้อนที่มีไฟนรก
ลุกไหม้ตลอดเวลา
สัตว์นรกตนที่ 3 ต้องการจะกล่าวว่า “นตฺถิ อนฺโต กุโต อนฺโต น อนฺโต ปฏิทิสสติ ตทา หิ ปกติ
ปาป์ มม ตุมหญฺจ มาริสา” แปลว่า ไม่มีสิ้นสุด จะสิ้นสุดได้แต่ที่ไหน ความสิ้นสุดไม่ปรากฏเลย พวกเรา
เอ๋ย ก็เพราะข้ากับเจ้าทำบาปกรรมไว้มากในครั้งนั้น แต่สัตว์นรกตนนี้กล่าวได้แค่เพียงอักษรตัวแรกว่า
“น” เท่านั้น ก็จมหายลงไปในหม้อเหล็กร้อนที่มีไฟนรกลุกไหม้ตลอดเวลา
สัตว์นรกตนที่ 4 ต้องการจะกล่าวว่า “โสห์ นูน อิโต คนฺตฺวา โยนี ลัทธาน มานุส วทญญ
สีลสมฺปนฺโน กาหามิ กุสลํ พหุ” แปลว่า ถ้าเราพ้นไปจากโลหกุมภีนรกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์ จักให้
ทาน รักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จักสร้างกุศลไว้ให้มาก” แต่กล่าวได้แค่เพียงคำว่า “โส” เท่านั้น ก็จมหาย
ลงไปในหม้อเหล็กร้อนเฉกเช่นเดียวกับสัตว์นรกทั้ง 3 ตน
อกุศลกรรมที่บุตรเศรษฐีทั้ง 4 คนได้กระทำไว้ตลอดชีวิต ทำให้เป็นชนกกรรมที่นำทั้ง 4 คนนั้นไป
เกิดเป็นสัตว์นรกถูกไฟนรกเผาไหม้ที่โลหกุมภีนรก ได้รับทุกข์โทษอย่างยาวนาน
ส่วนชนกกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลนั้น เมื่อทำหน้าที่นำให้สัตว์ไปเกิดนั้น ย่อมผลักดันให้ไปเกิดในสุคติภูมิ
ดังเช่นกรณีศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
ยัญญสูตร, อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่มที่ 24 หน้า 438
56 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม