กรรมและการเวียนเกิดเวียนตาย GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 15
หน้าที่ 15 / 214

สรุปเนื้อหา

วงจรของกิเลสที่ทำให้มนุษย์มีความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ นำมาสู่กรรมที่ต้องเผชิญตั้งแต่อดีต โดยมีผลตามจำนวนนับภพชาติที่เวียนเกิดเวียนตายไม่สิ้นสุด การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหนทางเดียวในการหลุดพ้นจากกรรมและการเกิดใหม่ ในขณะที่กรรมที่ได้ดำเนินมาในแต่ละชาตินั้นเติมเต็มด้วยผลกรรมซึ่งจะมีผลมากมายในอนาคต เช่น ประดุจการปลูกต้นลำไยที่ให้ผลออกมาหลายเท่า ชี้ให้เห็นว่าในแต่ละชาติเราต้องรับผลกรรมของเรา เราจึงควรใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังเพื่อลดทุกข์และเพิ่มความสุขในวิถีทางที่ถูกต้องตามธรรม

หัวข้อประเด็น

-หลักการของกรรม
-กิเลสและผลกรรม
-การเวียนเกิด
-การหลุดพ้นจากกรรม
-ความสำคัญของการปฏิบัติตามพระธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วงจรเฉพาะของผู้ที่ยังมีกิเลส มีความพอใจยินดีอยากได้อยากมี มีความยึดติดกับรูปลักษณ์สัมผัส กับ สิ่งของที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระของชีวิต ไม่สามารถแยกแยะว่าอะไรคือ ถูกผิด ผิดคือไม่รู้ว่าผิดแต่ทำ เพราะพลาดพลั้ง) ดีชั่ว(ชั่วคือรู้ว่าไม่ดีแต่ก็จะทำ) ควรไม่ควร มีวินิจฉัยเสียเพราะถูกกิเลส 3 ตระกูลครอบงำ ก่อให้เกิดความตรึกครุ่นคิดอยู่ในเรื่องกามราคะ ความพยาบาทปองร้าย เบียดเบียน เป็นเหตุให้จิตฝ่ายอกุศล บังคับบัญชาให้สรรพสัตว์สร้างกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ โดยมีตัณหาคือความทะยานอยากควบคุม ให้สร้างกรรมเพิ่มก่อให้เกิดภพชาตินี้ชาติหน้าเวียนเกิดเวียนตายต่อไปไม่รู้จบ ทำให้เสพคุ้นยึดถือยึดติดเป็น อาสวะหรือตะกอนที่นอนเนื่องอยู่ในกมลสันดาน เปรียบเหมือนการสร้างเรือนต่อเติมตรงนั้นนิดตรงนี้ หน่อยจนเรือนนั้นเต็มไปด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อนมากมาย ฉันใด ผู้ที่ประกอบกรรมดีชั่วไว้มากเท่าไร ผลกรรมก็มากตามไปด้วย ฉันนั้น กรรมของแต่ละบุคคลที่สั่งสมกันมาถ้าจะนับเป็นจำนวนก็มากมายมหาศาล เพราะเวียนเกิดเวียน ตายกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน หากนับตั้งแต่เกิดจนตาย สมมติว่าเราทำกรรมทั้งดีและชั่วไว้พันครั้ง วิบากกรรมก็มีพันครั้ง เมื่อกรรมให้ผลครั้งหนึ่งสามารถเผล็ดผลเพิ่มขึ้นได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น เรา ปลูกลำไยหนึ่งต้น เมื่อถึงเวลาออกดอกออกผล ลำไยต้นหนึ่งสมมติว่าให้ผลได้ปีละหนึ่งพันเมล็ด ถ้าอายุของ ต้นลำไยนี้สิบปี ฉะนั้นลำไยต้นนี้จะให้ผลถึงหมื่นเมล็ด นั่นแสดงให้ทราบว่า เราจะต้องรับผลกรรมที่เข้าแถว รออีกจำนวนมาก ยังต้องเวียนเกิดเวียนตายไปในภพ 3 อีกยาวนานมากเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า การจะ หลบหนีออกจากวังวนแห่งชีวิตขณะเสวยวิบากกรรมนั้นไม่อาจเป็นไปได้ เพราะยังมีอำนาจกรรมของตน เป็นตัวควบคุม อีกทั้งไม่สามารถให้ใครรับผลกรรมแทนได้ กรรมและผลกรรมเป็นของเฉพาะตน เป็นสิ่ง เที่ยงแท้แน่นอนที่ผู้ใดกระทำผู้นั้นคือผู้รับ หากจะหนีออกจากวังวนแห่งชีวิตนี้ จะต้องทำในภพชาติที่เกิดเป็นมนุษย์ และจะต้องได้ฟัง พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วนำมาปฏิบัติอย่างตั้งใจ จนบรรลุมรรคผลนิพพาน เหมือนดังพระ องคุลิมาลที่สามารถบรรลุธรรมสิ้นอาสวกิเลสเป็นพระอรหันตสาวกแล้ว จึงไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป เพราะถ้าท่านไม่หมดกิเลส ท่านจะต้องรับผลกรรมปาณาติบาตจากการที่เคยฆ่าคนมามาก ซึ่งจะทำให้ท่าน ต้องเวียนเกิดเวียนตายอีกยาวนาน และในระหว่างที่เกิดนั้นก็ยังสามารถสร้างกรรมเพิ่มขึ้นได้อีกมากมาย จึงเหมือนปฏิกิริยาลูกโซ่การแตกแยกย่อยอะตอมของระเบิดปรมาณู (ATOMIC BOMB) ความเชื่อเรื่องภพชาตินี้ภพชาติหน้า ชีวิตหลังความตาย ตายแล้วไม่ขาดสูญ ตายแล้วยังต้อง เวียนตายเวียนเกิดใหม่ เหล่านี้เป็นหลักความเชื่อที่มีความสำคัญและสัมพันธ์ต่อการดำรงชีวิตในภพชาตินี้ ภพชาติหน้าและภพชาติถัดไป ทั้งยังเป็นเหตุปัจจัยกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของผู้นั้นว่าจะมีความสุขสบาย หรือทุกข์ยาก เพราะเป็นความเชื่อที่ส่งผลต่อการกระทำ สิ่งที่กระทำส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของชีวิต 1 สนิทานสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มก. เล่ม 26 ข้อ 356 หน้า 430 ปฐมชนสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มก. เล่ม 24 ข้อ 167 หน้า 277 อรรถกถาบุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส, ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่ม 68 หน้า 993 บ ท ที่ 1 ความรู้เบื้อ อ ง ต้ น เ รื อ เรื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 5
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More