สัมผัปปลาปา เวรมณี และการวิเคราะห์กรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 181
หน้าที่ 181 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเรื่องสัมผัปปลาปา เวรมณี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูดที่ชัดเจนและเหมาะสม พร้อมกับการพิจารณากรรมที่เกิดจากวจีกรรม โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับกรณีต่างๆ ของบุคคลที่มีความสามารถด้านการร้องเพลง ที่สะท้อนกรรมในอดีตชาติ. นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงอพยาบาท ซึ่งหมายถึงการไม่พยาบาทหรือปองร้ายผู้อื่นและการมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น. ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความเข้าใจในเรื่องจริยธรรมและวิถีชีวิต.

หัวข้อประเด็น

- สัมผัปปลาปา เวรมณี
- กรรมมุสาวาทา เวรมณี
- การไม่พยาบาท
- กรณีศึกษาด้านเสียงเพลง
- แนวทางการสวดมนต์และธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัมผัปปลาปา เวรมณี คือ การเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้พูดถูกกาลเวลา พูดแต่คำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงวินัย พูดถ้อยคำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยสมควรแก่เวลา ทั้ง 4 หัวข้อนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นกรรมที่เกิดจากวจีกรรมด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ได้มีกรรมใน ทางกายกรรมและทางมโนกรรมมาเกี่ยวข้องเลย จึงได้จัดทั้ง 4 หัวข้อนี้มาอยู่ในกรณีศึกษาที่จะนำเสนอใน เรื่องเดียวกัน กรณีศึกษาในเรื่องของกรรมมุสาวาทา เวรมณี, กรรมปิสุณาย วาจาย เวรมณี กรรมผรุสาย วาจาย เวรมณี และกรรมสัมผัปปลาปา เวรมณี กรณีศึกษาที่ 1 (วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548) หญิงคนหนึ่งเป็นคนชอบการใช้เสียง ได้ดำเนิน รอยตามพ่อแม่ที่ชอบเล่นดนตรีและร้องเพลง โดยหญิงผู้นี้ได้เข้าร่วมประกวดร้องเพลงตั้งแต่อยู่ชั้น ป.1 ถึงชั้นมัธยม เรื่อยมาจนถึงมหาวิทยาลัย เมื่อมีการประกวดร้องเพลงครั้งใด ก็ต้องมีเธอร่วมด้วยเกือบทุกครั้ง และได้รางวัลที่ 1 จนมีคนมาทาบทามให้ไปออกเทปเป็นนักร้องอาชีพ แต่เธอก็ไม่ได้ไป สาเหตุที่หญิงผู้นี้มีเสียงไพเราะ ชอบร้องเพลง อ่านกลอนทำนองเสนาะ และเป็นพิธีกร เพราะ กรรมในอดีตชาติชอบสวดมนต์ ชอบพูดธรรมะ และมีปิยวาจา ประกอบกับมีนิสัยติดมาจากอดีตชาติที่ ชอบร้องรำทำเพลงเป็นอาชีพ กรณีศึกษาที่ 2 (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547) ชายคนหนึ่งในวัยเด็กมีความปรารถนาอยากจะ เป็นนักบิน แล้วก็สอบติดโรงเรียนนักบิน แต่คุณพ่อไม่ยอมให้ไปเรียน เมื่อโตขึ้นมาก็อยากเป็นบาทหลวง เพราะประทับใจบาทหลวงท่านหนึ่งที่อธิบายพระคัมภีร์ในโบสถ์ด้วยความอดทน และคิดว่าเป็นบาทหลวง แล้วจะได้เรียนหนังสือสูงๆ แต่คุณพ่อก็ไม่ยอมอีก จนในที่สุดเขาได้มาเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถในการ ร้องเพลงและยังมีซุ้มเลียงที่ไพเราะก้องกังวาน สาเหตุที่ชายผู้นี้มีความสามารถในการร้องเพลงและมีเสียงที่ไพเราะ เพราะกรรมในอดีตชาติเคย บวชในร่มเงาพระพุทธศาสนา ชอบสวดมนต์ และก็ชอบเทศนาสั่งสอนสาธุชน อพยาบาท (ไม่พยาบาทปองร้าย) อพยาบาท คือ การไม่พยาบาทปองร้าย มีใจไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นว่า “ขอสัตว์เหล่านี้ จงอย่า จองเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ จงมีแต่ความสุข อยู่รอดปลอดภัยเถิด” 1-2 จุนทสูตร, อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่ม 38 หน้า 432-433 บ า ที่ 7 ก ร ณี ศึ ก ษ า เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 171
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More