การบรรลุถึงที่สุดโลกและการเวียนเกิด GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 17
หน้าที่ 17 / 214

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการถามตอบระหว่างเทพบุตรกับพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย พร้อมกับการอุปมาของพระองค์เพื่อเปรียบเทียบความยาวนานของการเวียนเกิดและความทุกข์ในชีวิตมนุษย์ อุปมาที่นำเสนอแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการนับจำนวนความทุกข์และชีวิตในวัฏจักรการเกิดใหม่ นอกจากนี้ยังได้ค้นหาทางออกจากทุกข์และการบรรลุถึงที่สุดของโลก โดยผ่านการมีปัญญาและความเข้าใจในสัจจะแห่งธรรมชาติ

หัวข้อประเด็น

-การไม่เกิดกับการเกิดใหม่
-การบรรลุถึงที่สุดของโลก
-การเวียนเกิดและทุกข์
-แนวทางตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
-อุปมาที่เปรียบเทียบในธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สิ้นชีวิตเสียก่อน เทพบุตรท่านนี้จึงทูลถามเรื่องจะทำอย่างไรจึงไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย การจุติ การอุบัติ และสามารถบรรลุที่สุดโลกด้วยการเดินทางได้หรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสตอบเทพบุตรนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ณ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง หากเรายังไม่บรรลุถึง ที่สุดของโลกแล้ว จะไม่กล่าวถึงการกระทำที่สุดทุกข์ แต่เรา บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก การดับของโลก และทางให้ถึง ความดับโลก ในเรือนร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้ง สัญญา พร้อมทั้งใจครอง แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลกด้วย การเดินทางและเพราะที่ยังบรรลุถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไป จากทุกข์ เหตุนั้นแลคนมีปัญญาดี รู้แจ้งโลกถึงที่สุดโลกได้ อยู่ จบพรหมจรรย์แล้ว รู้ที่สุดโลกแล้วเป็นผู้สงบแล้ว จึงไม่หวัง โลกนี้และโลกอื่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาเปรียบเทียบความยาวนานของการเวียนเกิดเวียนตาย กับเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่เราประสบไว้ใน อนมตัคคสังยุต ดังนี้ 1. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุรุษตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ มารวมกันแล้ว ทำให้เป็นมัดๆ ละ 4 นิ้ว โดยสมมติว่า มัดนี้เป็นมารดาของเรา มัดนี้เป็นมารดาของมารดา ของเรา โดยลำดับนับจนหมด แต่ก็ไม่สามารถนับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นได้หมดสิ้น 2. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนบุรุษคนหนึ่งปั้นดินทั้งแผ่นดินเป็นก้อนเล็กๆ เท่าเม็ดกระเบาจนหมด แล้วนับดินก้อนที่หนึ่งแทนบิดา นับดินก้อนต่อๆ มาแทนบิดาของบิดา ไปเรื่อยๆ จนดินหมดก็ ยังไม่สามารถนับบิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นได้หมดสิ้น 3. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนน้ำตาที่หลั่งออกเพราะร้องไห้เสียใจกับการสูญเสียมารดา บิดา พี่น้อง ญาติมิตร บุตรธิดา ความเสื่อมโภคสมบัติ เจ็บปวดเพราะโรคภัย นั้นมีจำนวนมากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 4. ทรงอุปมาว่า เปรียบเสมือนน้ำนมของมารดาที่ดื่มมาแล้ว ยังมีมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 โรหิตัสสสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 298 หน้า 382 อนมตัคคสังยุต, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 421-455 หน้า 506-532 * ชมพูทวีป เป็นหนึ่งในทวีปทั้ง 4 อันเป็นภพภูมิมนุษย์ของพวกเรานี้ ตั้งอยู่ตรงไหล่ภูเขาสิเนรุทางทิศใต้ บ ท ที่ 1 ค ว า ม ามรู้เบื้อ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 7
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More