ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่บันดาลให้ได้รับผลในปัจจุบันชาตินี้ทันที เพราะ
กรรมประเภทนี้มีกำลังในการให้ผลมาก จึงสามารถที่จะบันดาลให้บุคคลที่กระทำอกุศลกรรมหรือกุศล
กรรมได้รับผลภายใน 7 วันอย่างแน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
- ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลกรรม
ผลแห่งกรรมจะบันดาลให้บุคคลที่กระทำกรรมได้รับความทุกข์เดือดร้อนภายใน 7 วัน ดังเช่น
กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก เรื่องพระเจ้าสุปปพุทธศากยะ
พระเจ้าสุปปพุทธศากยะเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองเมืองเทวทหะ เป็นพระบิดาของพระเทวทัต
และพระนางยโสธรา พระองค์ได้ผูกอาฆาตพยาบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
พระพุทธองค์ทิ้งพระนางยโสธราออกบวชและยังผูกเวรกับพระเทวทัต วันหนึ่งจึงเสด็จเข้าไปปิดทางเสด็จ
บิณฑบาตของพระพุทธองค์ ด้วยการนั่งเสวยน้ำจัณฑ์ในระหว่างทาง ถึงแม้จะมีคนกราบทูลห้าม แต่
พระองค์ก็ยังคงนั่งอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จกลับไป
หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า “พระเจ้าสุปปพุทธะได้
ทำกรรมหนัก ในวันที่ 7 จะถูกธรณีสูบที่ใกล้เชิงบันไดในปราสาท” เมื่อพระเจ้าสุปปพุทธะทรงทราบคำตรัส
ของพระพุทธองค์จากจารบุรุษ จึงเสด็จหนีขึ้นไปอยู่บนปราสาทชั้นที่ 7 และรับสั่งให้พวกมหาดเล็กเฝ้าที่
เชิงบันได เพื่อห้ามไม่ให้พระองค์ลงไปข้างล่างตลอด 7 วัน โดยมุ่งหมายเพื่อให้พระดำรัสของพระพุทธ
องค์เป็นเท็จ
เมื่อถึงวันที่ 7 ม้ามงคลของพระเจ้าสุปปพุทธะเกิดคึกคะนองขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่พอ
ม้ามงคลเห็นพระเจ้าสุปปพุทธะที่หน้าต่างก็เงียบสงบลง พระองค์จึงมีความประสงค์ที่จะลงไปจับม้ามงคล
เมื่อพระองค์กำลังจะลง ประตูปราสาทได้เปิดออกเอง พวกคนแข็งแรงที่อยู่ตรงประตูเห็นเช่นนั้นก็ช่วยกัน
จับพระองค์ไว้ แต่ด้วยอำนาจของกรรม ทำให้พระองค์คะทำหน้าลงพร้อมทั้งแผ่นดินได้แยกออกแล้วสูบ
พระองค์ลงไปสู่อเวจีมหานรกทันที พระเจ้าสุปปพุทธะได้ทำกรรมหนัก คือ การผูกโกรธอาฆาตพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ทำให้ต้องไปเกิดในอเวจีมหานรก เพราะกรรมนั้นเป็นปรปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่มีกำลังมาก
จึงทำให้ผู้ที่กระทำกรรมได้รับผลในปัจจุบันชาตินี้ทันที
- ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลกรรม
ผลแห่งกรรมจะบันดาลให้บุคคลที่กระทำกรรม ให้ได้รับความสุขความเจริญอย่างรวดเร็ว
ภายใน 7 วัน ดังเช่นกรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก เรื่องกาฬวยเศรษฐี
2
ในสมัยพุทธกาล มีชายยากจนคนหนึ่งชื่อ กาฬวริยะ ทำงานหาเงินด้วยความยากลำบาก
เรื่องเจ้าสุปปพุทธศากยะ, อรรถถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 61
เทวทหสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 หน้า 28
บ ท ที่ 5 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 3 ก ร ร ม ใ ห้ ผ ล ต า ม ก า ล เ ว ล า
DOU 103