ความเข้าใจในสังสารวัฏและกรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 19
หน้าที่ 19 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับการทำความเข้าใจในสังสารวัฏ ซึ่งเกิดจากกิเลสที่ส่งผลต่อการกระทำของสัตว์ที่ทำให้เกิดผลกรรมตามมา โดยยกตัวอย่างจากเรื่องราวของพระอังคุลิมาลที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากการสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าใจว่ากิเลสคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกรรมและวิบากที่ติดตามมาด้วย เมื่อทำกรรมแล้วจะมีผลกรรมที่ตามมาเสมอ ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก เช่นเดียวกับการจุดไม้ขีดเพียงก้านเดียวที่สามารถเผาผลาญทั้งเมืองได้ตามไปด้วย

หัวข้อประเด็น

-กิเลสและสังสารวัฏ
-กรรมและผลกรรม
-บทเรียนจากพระอังคุลิมาล
-การวิจารณ์แนวคิดในพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังที่พระพุทธองค์ตรัสอุปมายกตัวอย่างมากมาย จากการศึกษาพบว่า กระบวนการหรือองค์ ประกอบที่ทำให้เกิดสังสารวัฏนั้น คือ กิเลส แปลว่า ความเศร้าหมอง หมายถึง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ เมื่อถูกกิเลสครอบงำทำให้สัตว์นั้นไม่เป็นตัวของตัวเองตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลส ควบคุมบังคับสัตว์ให้ไปสร้างไปทำสิ่งต่างๆ ได้แก่ กิเลสกาม หมายถึง ความชั่วที่แฝงอยู่ในใจผลักดันให้ทำ สิ่งที่ผิดเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ปรารถนา และวัตถุกาม หมายถึง วัตถุอันน่าใคร่น่าปรารถนามี 5 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กรรม แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทั้งดีและชั่ว วิบาก แปลว่า ผลที่เกิดขึ้น หมายถึง ผลแห่งกรรม บางทีก็ใช้ว่า ไตรวัฏฏ์ หมายถึง การเวียนเกิดเวียนตายเพราะเหตุปัจจัย 3 ประการ ซึ่งพระ องคุลิมาลได้ยืนยันเรื่องไตรวัฏฏ์นี้อย่างชัดเจนว่า “เมื่อครั้งที่เราเป็นโจร ถูกกิเลสครอบงำ จึงทำกรรมชั่ว ไว้มาก ซึ่งจะต้องไปรับผลกรรมนั้นในทุคติภูมิยาวนาน แต่เพราะได้รับการแนะนำสั่งสอนจากพระพุทธองค์ จึงทำให้สิ้นกิเลสหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้ ไม่หวนกลับมาสู่การเกิดและการตายอีกต่อไป” จากตรงจุดนี้ แสดงให้ทราบว่า กิเลสคือต้นเหตุที่ควบคุมให้เกิดการกระทำทางกาย วาจา และใจ เมื่อประกอบกรรมแล้ว มีผลกรรมทันทีไม่ว่าจะมากหรือเล็กน้อย เหมือนไม้ขีดเพียงก้านเดียวแต่สามารถเผาผลาญทั้งเมืองได้ แผนผังไตรวัฏฏ์ วิบาก กิเลส กรรม อังคุลิมาลสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 21 ข้อ 534 หน้า 152 บ ท ที่ 1 ค ว า ม รู้เบื้ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม เ DOU 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More