ข้อความต้นฉบับในหน้า
วิธีการทําความสะอาดของพระอริยะ หมายถึง ทำความสะอาดทางกาย คือไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม
ทำความสะอาดทางวาจา คือการละจากการพูดเท็จ ละจากการพูดส่อเสียด ละจากการพูดคำหยาบ
ละจากการพูดเพ้อเจ้อ
ทำความสะอาดทางใจ คือ ไม่อยากได้ของคนอื่น ไม่มีความมุ่งร้ายคนอื่น และมีความเห็นถูก
จากพระสูตรนี้ นักศึกษาจะเห็นว่า สิ่งที่ควรจะทำให้สะอาดบริสุทธิ์ มี 3 ทาง คือ กาย วาจา และใจ
และทางแห่งการทำความชั่วก็มีอยู่ 3 ทางหลักๆ เช่นกัน
6.2.4 พระพุทธศาสนาปฏิเสธการล้างบาปอย่างศาสนาอื่น
ส่วนในประเด็นที่ว่า ในความเชื่อของศาสนาที่เชื่อว่า บาปสามารถสืบทอดมาถึงมนุษย์คนอื่นได้
มนุษย์เกิดมาจะต้องทำพิธีล้างบาป หรือความเชื่อที่ว่า ศาสดาเป็นผู้เกิดมาเพื่อไถ่บาปนั้น ในประเด็นนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้อธิบายไว้ดังนี้
สุทธิ อสุทธิ ปจฺจตฺต์
“ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องเฉพาะตัว”
นาญโญ อญฺญ์ วิโสธเย
“ใครจะไถ่บาป ทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ไม่ได้”
พระพุทธวจนะนี้ ปฏิเสธทรรศนะที่ว่า บาปของคนหนึ่งจะตกทอดไปยังอีกคนหนึ่งได้ และปฏิเสธ
ทรรศนะที่ว่า บาปที่คนหนึ่งทำแล้วจะมีผู้หนึ่งผู้ใดมาไถ่ถอนให้ได้
ส่วนในทรรศนะเรื่องการล้างบาปของศาสนาที่เชื่อเรื่องล้างบาปด้วยการลงอาบน้ำในแม่น้ำ
ศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงปฏิเสธความเชื่อดังกล่าวเช่นกัน ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตรชื่อ วัตถุปมสูตร
มีใจความว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้เมืองสาวัตถี สุนทริกภาร
ทวาชพราหมณ์ (ผู้มีความเห็นว่า คนที่อาบน้ำในแม่น้ำสุนทริกาย่อมละบาปได้) นั่งอยู่ใกล้ที่ประทับ ได้ฟัง
พระดำรัสว่าด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ท่านพระโคดมจะเสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกาเพื่อจะสรงสนานหรือ
1 วัตถุปมสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 437
บ ท ที่ 6 ท ร ร ศ น ะ เ รื่ อ ง ก า ร ล้ า ง บ า ง ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 131