ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 3
กรรมหมวดที่ 1 กรรมให้ผลตามหน้าที่
มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ล้วนไม่รู้ว่าเกิดมาทำไมพร้อมกับความสงสัยในฐานะทางสังคมและ
เศรษฐกิจ เนื่องจากแต่ละคนที่เกิดมามีความแตกต่างกัน บางคนเกิดมารวย บางคนเกิดมาลำบากยากจน
บางคนเกิดมาพิการ บางคนเกิดมาสวย บางคนเกิดมาขี้เหร่ และไม่รู้ว่าเมื่อเกิดมาแล้วจะตายเมื่อไร จะ
ตายด้วยเหตุใด ตายแล้วจะไปอยู่ที่ไหน มนุษย์ทุกคนจึงมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่รู้และความสงสัยในชีวิตทั้งสิ้น
จึงมีนักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อย ที่พยายามอธิบายความหมายของคำว่า “ชีวิต” และ
พยายามศึกษาเพื่อให้เข้าใจชีวิตรวมทั้งพยายามจะทำความเข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกต่างๆ ของมนุษย์ว่า
ทำไมจึงมีพฤติกรรมเช่นนี้ มีอะไรเป็นตัวเร้าหรือตัวกำหนด และพยายามจะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับชีวิตใน
แง่มุมต่างๆ เพื่ออธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ แต่แท้ที่จริงคำตอบเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์นั้นมีกล่าวไว้อย่าง
ชัดเจนในพระพุทธศาสนา เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ศึกษาความเป็นจริงของชีวิตมานับภพ
นับชาติไม่ถ้วน จนกระทั่งพระองค์ตรัสรู้และค้นพบหนทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ปลอดภัย และตรงต่อ
เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือการทำพระนิพพานให้แจ้ง
เพราะฉะนั้น มนุษย์ทุกคนจึงควรเข้ามาศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง เพื่อ
จะได้รู้และทำความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างถ่องแท้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะผู้ที่ไม่มีความรู้ทางพระพุทธ
ศาสนาเลย ก็จะได้รับรู้คำตอบของชีวิตเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ซึ่งการรู้ในตอนนั้นก็จะไม่สามารถกลับมา
แก้ตัวด้วยการสร้างกุศลกรรมได้อีก ดังนั้นทุกคนจึงควรหันมาศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่าง
จริงจังแล้วนำไปปฏิบัติเพื่อการสร้างสมกุศลกรรมให้ยิ่งขึ้น แล้วในที่สุดก็จะพบแต่ความสุขความสำเร็จ
ที่แท้จริงตลอดกาลนาน
ดังนั้น เนื้อหาในบทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5 จะกล่าวถึงเรื่องกรรมที่ให้ผลในลักษณะที่ปรากฏ
ออกมาแตกต่างกัน เพื่อแสดงถึงการจำแนกกรรมออกเป็นส่วนๆ ทำให้เรื่องของกรรมที่ดูสลับซับซ้อนนั้น
ง่ายต่อการศึกษา ง่ายต่อการทำความเข้าใจและช่วยให้เห็นภาพรวมของการให้ผลของกรรมได้ชัดเจนมาก
ยิ่งขึ้น ซึ่งประเภทของการให้ผลของกรรมนี้มีปรากฏใน มโนรถปูรณี โดยจำแนกการให้ผลของกรรมไว้
หลายอย่าง ได้แก่ กรรม 11 อย่าง ตามสุตตันติกปริยาย กรรม 16 อย่าง ตามแนวอภิธรรม กรรม 12 อย่าง
ตามแนวแห่งปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งในเนื้อหาที่จะศึกษานี้ได้กล่าวถึงกรรม 12 อย่าง โดยแบ่งการให้ผลของ
กรรมออกเป็น 3 หมวด ตามลักษณะการให้ผลของกรรมที่แตกต่างกัน สำหรับเนื้อหาในบทที่ 3 จะกล่าวถึง
การให้ผลของกรรมหมวดแรก ส่วนอีก 2 หมวดที่เหลือจะกล่าวในบทต่อไปตามลำดับ
54 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม