การกำเนิดบาปในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 139
หน้าที่ 139 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการกำเนิดบาปในพระพุทธศาสนา โดยเน้นว่าบาปเกิดจากกิเลสที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ เช่น โลภะ โทสะ และโมหะ ไม่ใช่เรื่องที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งต่างจากความเชื่อในศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์และฮินดูที่เชื่อว่าบาปสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่าบาปเป็นสิ่งที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ใครทำบาปก็จะได้รับผลของบาปนั้นเอง การทำดีและการทำชั่วจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลโดยตรงเหมือนกับการทำอันใดอันหนึ่งไม่สามารถถ่ายทอดได้เหมือนการรับประทานอาหาร.

หัวข้อประเด็น

-การกำเนิดบาป
-ความเชื่อในศาสนา
-กิเลสและผลกระทบ
-การทำดีและการทำชั่ว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.2.2 การกำเนิดบาปในพระพุทธศาสนา จากการที่นักศึกษาได้เรียนรู้ทรรศนะการล้างบาปในศาสนาต่างๆ ที่ผ่านมา จะเห็นว่าในเรื่องการ กำเนิดบาปในแต่ละศาสนามีความเชื่อที่ต่างกัน ศาสนาที่นับถือพระเจ้าอย่างศาสนาคริสต์และศาสนา พราหมณ์-ฮินดู มักจะเชื่อว่า บาปเกิดจากการที่ผิดคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ศาสนาคริสต์เชื่อว่า บาป เกิดจากการที่อาดัมกับอีวาแอบกินแอปเปิ้ลในสวนเอเดน ซึ่งเป็นการผิดคำสั่งพระเจ้า ทำให้มีบาปติดตัว มาถึงลูกหลานและมนุษย์ทั่วโลก โดยนัยนี้ศาสนาคริสต์เชื่อว่า บาปตกทอดทางสายเลือด ดังนั้นมนุษย์ที่ เกิดใหม่จะต้องรับศีลล้างบาป หรือคำสอนที่ว่า พระเจ้าทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ขาดที่จะยกเลิกบาปให้ใครๆ ได้ โดย การไถ่บาป ขอเพียงอย่างเดียว คือ ให้ผู้นั้นภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง มีความรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง ทรงเห็นกลไกความเป็นไปของกฎธรรมชาติ เป็นผลทำให้พระองค์ทรงรู้จักธรรมชาติของกิเลส อันเป็น ต้นเหตุแห่งการเกิดบาปทั้งหลายได้อย่างถูกต้องตรงความเป็นจริง และสามารถกำจัดกิเลสเหล่านั้นออกไป โดยสิ้นเชิงและเด็ดขาด พระองค์ทรงสรุปเรื่องการกำเนิดบาปไว้อย่างชัดเจนว่า “นตฺถิ ปาง อกุพฺพโต บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป” “อตฺตนา ว ก ปาป์ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ใครทำบาป คนนั้นก็เศร้าหมองเอง” “อตตนา อกติ ปาง อตฺตนา ว วิสชุมติ ใครไม่ทำบาป คนนั้นก็บริสุทธิ์” จากพระพุทธวจนะนี้ เป็นเครื่องยืนยันการค้นพบของพระองค์ว่า บาปเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่ สิ่งที่ติดต่อกันได้ใครทำบาปคนนั้นก็ได้รับบาปเองใครไม่ทำบาปก็รอดตัวไป หากพ่อทำบาปก็เป็นกรรมของพ่อ จะไม่ตกไปถึงลูก เหมือนพ่อกินข้าวอิ่ม ลูกก็ไม่ได้อิ่มด้วย ดังนั้นสรุปว่า ตามความเห็นของพระพุทธศาสนา บาปเกิดขึ้นที่ตัวผู้ทำเอง คือ เกิดจากกิเลสในใจของผู้ทำ ไม่เกี่ยวกับบุคคลอื่น ถ้าใครทำชั่ว บาปก็จะ กัดกร่อนใจผู้นั้น ให้ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ทำให้เกิดทุกข์ทรมาน ขาดประสิทธิภาพ 6.2.3 บาปเกิดได้ 3 ทาง ดังที่ทราบแล้วว่า บาปเกิดจากกิเลสภายในใจ คือ โลภะ โทสะ โมหะ บังคับจิตใจมนุษย์ให้กระทำ เรื่องนายพรานกุกกุฏมิตร, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 40 * เรื่องอุบาสกชื่อจุลกาล, ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 222 บ ท ที่ 6 ท ร ร ศ น ะ เ รื่ อ ง ก า ร ล า ง บ า ง ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 129
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More