ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม: ความหมายและลักษณะ GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 112
หน้าที่ 112 / 214

สรุปเนื้อหา

ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ไม่ต้องรอชาตินี้จะเห็นผลทันที ตีความได้ว่าเป็นกรรมที่มีกำลังน้อย ส่งผลเฉพาะในช่องทางนี้ แต่ไม่สามารถให้ผลในชาติหน้าหรือหน้าต่อไปได้ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมมีสองประเภทคือ ชวนะ ซึ่งทำหน้าที่ในการเสพอารมณ์ของจิต และส่งผลที่เกิดจากการกระทำที่มีอำนาจในการเห็นผลตอนนี้เท่านั้น ในกรณีที่ไม่ได้ให้ผลก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม และการกระทำทั้งทางกาย วาจา หรือใจ ย่อมเกี่ยวข้องกับเจตนา ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างกรรมที่เห็นผลได้

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
- ลักษณะของทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
- ผลกรรมในปัจจุบัน
- ชวนะและอารมณ์ของจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.1 ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม 5.1.1 ความหมายของทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือให้ผลในชาตินี้ เป็นกรรมที่ให้ผล รวดเร็วเป็นปัจจุบันทันด่วน เมื่อบุคคลกระทำแล้วย่อมจะได้รับผลแห่งกรรมที่กระทำในชาติปัจจุบันนี้ ไม่ ต้องรอรับผลในชาติหน้าหรือชาติไหน เป็นกรรมที่ให้ผลทันตาเห็น 5.1.2 ลักษณะของทิฏฐธรรมเวทนียกรรม จากความหมายข้างต้นอาจเปรียบทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเหมือนนายพรานเนื้อที่ยิงเนื้อด้วย ลูกศร ถ้าลูกศรถูกเนื้อก็จะทำให้เนื้อตัวนั้นล้มลงในที่นั้น นายพรานเนื้อก็จะถลกหนังของเนื้อตัวนั้นออก เฉือนเป็น ชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ถือเอาเนื้อนั้นไปเลี้ยงครอบครัว แต่ถ้าลูกศรที่ยิงไปไม่ถูก เนื้อตัวนั้นก็จะหนีไปโดยไม่หัน กลับมาดูอีก ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมก็เช่นกันที่มีอำนาจให้ผลแก่บุคคลที่กระทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรม ในปัจจุบันชาติ เพราะไม่มีอำนาจให้ผลในภพชาติหน้า ถ้าทิฏฐธรรมเวทนียกรรมไม่ได้ให้ผลในปัจจุบันชาตินี้ ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปทันที ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเกิดจากเจตนาที่ประกอบอยู่ในปฐมชวนจิตดวงที่ 1 เนื่องจากการกระทำต่างๆ ทั้งที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจา และทางใจ ย่อมจะมีชวนจิตเกิดขึ้น 7 ครั้งเสมอซึ่งมีมากมายนับไม่ถ้วนในการกระทำอย่างหนึ่ง ในหนังสือกรรมทีปนี้ได้อ้างถึงอรรถกถาอรรถสาลินี ว่า ทิฏฐธมฺมเวทนีย์ ปฐม์ ชวน์ ภูเว ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ได้แก่ เจตนาที่ประกอบอยู่ในชวนจิตดวงที่ 1 จากคำกล่าวของอรรถกถาจารย์นั้นทำให้ทราบถึงลักษณะของทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผล เพียงแค่ในชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น เพราะกุศลเจตนาและอกุศลเจตนา ซึ่งประกอบอยู่ในชวนจิตดวงที่ 1 นี้มี กำลังน้อย ไม่มีกำลังมากเหมือนชวนะดวงที่ 2-3-4-5-6-7 เพราะเป็นชวนะที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะให้ผลแก่บุคคลที่กระทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมในชาติหน้าหรือชาติต่อๆ ไปได้ ซึ่ง ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมมี 2 ประเภท ได้แก่ ชวนะ คือ การเสพอารมณ์ของจิตที่เป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต โดยปกติในการเสพอารมณ์วาระหนึ่งจะมี 7 ชวนะ ซึ่งอาจเปรียบชวนะเหมือนกับบุรุษที่กำลังกินอาหารอยู่อย่างเอร็ดอร่อย ชวนะก็เช่นกันที่ทำหน้าที่ในการเสพอารมณ์ของจิตที่ เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นการกระทำที่เป็นบุญหรือเป็นบาปก็เกิดขึ้นที่ชวนะจิตทั้ง 7 นี้ - พระพรหมโมลี, กรรมทีปนี (กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร (ดอกหญ้า), 2541), เล่ม 1 หน้า 241 102 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More