อนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการและโทษของการฆ่า GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 95
หน้าที่ 95 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความสำคัญและโทษของอนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการในพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วย สังฆเภท โลหิตุปบาท อรหันตฆาต มาตุฆาต และปิตุฆาต โดยอธิบายการให้ผลของแต่ละกรรมที่กระทำ โดยเฉพาะการฆ่าบิดามารดาและผลที่จะนำไปสู่การเกิดโทษในอเวจีมหานรก หากมีการทำอนันตริยกรรมครบทั้ง 5 ประการ สุดท้ายยังเปรียบเทียบความสำคัญอันเกิดจากการฆ่ามารดาและบิดา

หัวข้อประเด็น

-อนันตริยกรรมทั้ง 5
-โทษจากการฆ่า
-บทบาทและความสำคัญของมารดาและบิดา
-ผลกรรมในอเวจีมหานรก
-การวิเคราะห์พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สงฆ์ไม่ได้ สามเณรก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ สามเณรีก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ อุบาสกก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ อุบาสิกาก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้ ดูก่อนอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ มีสังวาสเสมอ กัน อยู่ในสีมาเดียวกัน ย่อมทำลายสงฆ์ได้” เมื่อผู้ใดทำอนันตริยกรรมทั้ง 5 ครบทุกประการแล้ว เมื่อตายไปสังฆเภทก็จะส่งผลก่อนและมีกำลัง ให้รับโทษตลอดกับ เมื่อใดกับยังไม่สิ้นไป ผู้ที่ทำสังฆเภทก็ยังไม่พ้นจากอเวจีมหานรก เมื่อกับสิ้นไปก็เป็นอันว่า พ้นจากอเวจีมหานรกเมื่อนั้น อนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการนี้ มีโทษหนักเบาและมีลำดับการให้ผลดังนี้ - สังฆเภท โทษหนักที่สุดให้ผลเป็นอันดับแรก - โลหิตุปบาท มีโทษหนักและให้ผลรองจากสังฆเภท - อรหันตฆาต มีโทษหนักและให้ผลรองจากโลหิตุปบาท - มาตุฆาตและปิตุฆาต มีโทษหนักน้อยที่สุดและให้ผลในลำดับสุดท้าย อนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการนี้ เมื่อผู้ทำอนันตริยกรรมครบทั้ง 5 ประการได้ตายไปแล้ว สังฆเภท ก็จะให้ผลนำไปสู่อเวจีมหานรก แต่ถ้าไม่ได้ทำสังฆเภท โลหิตตุปบาทย่อมให้ผล แต่ถ้าไม่ได้ทำทั้งสองอย่าง ที่กล่าวมาแล้ว อรหันตฆาตย่อมให้ผล แต่ถ้าอรหันตฆาตก็ไม่ได้ทำ สังฆเภทและโลหิตตุปบาทก็ไม่ได้ทำ มาตุฆาตและปิตุฆาตก็จะให้ผล โดยมาตุฆาตและปิตุฆาตมีกฎเกณฑ์ในการให้ผลตามนัยแห่งอรรถกถา สัมโมหวิโนทนี อย่างนี้ ในกรณีที่ฆ่าทั้งบิดาและมารดา 1. บิดาเป็นผู้มีศีล มารดาเป็นผู้ทุศีล หรือมีศีลต่ำกว่าบิดา ปิตุฆาตย่อมให้ผล 2. มารดาเป็นผู้มีศีล บิดาเป็นผู้ทุศีล มาตุฆาตย่อมให้ผล 3. มารดาเป็นผู้มีศีล บิดาเป็นผู้มีศีล มาตุฆาตย่อมให้ผล 4. มารดาเป็นผู้ทุศีล บิดาเป็นผู้ทุศีล มาตุฆาตย่อมให้ผล ในกรณีของข้อที่ 3 และข้อที่ 4 นั้น เมื่อผู้ใดทำแล้ว มาตุฆาตย่อมให้ผล เพราะครุกรรมที่ฆ่ามารดา ย่อมมีโทษมากกว่าครุกรรมที่ฆ่าบิดา เนื่องจากมารดาเป็นผู้มีพระคุณแก่บุตรมากกว่า เพราะต้องลำบาก ทนทุกข์ทรมานในการรักษาครรภ์จนกว่าจะคลอดออกมา เมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องให้การเลี้ยงดู สงเคราะห์แก่บุตรจนเติบโตขึ้นมา เพราะฉะนั้น มารดาจึงมีพระคุณมากกว่าบิดา ครุกรรมที่ฆ่ามารดาจึงมีกำลังที่มากกว่าครุกรรมที่ ฆ่าบิดา เมื่อผู้ที่ทำครุกรรมโดยการฆ่ามารดาหรือบิดาผู้มีศีลหรือไม่มีศีลก็ตาม มาตุฆาตย่อมให้ผลใน - สังฆเภทขันธกะ, พระวินัยปิฎก จุลวรรค, มก. เล่มที่ 9 หน้า 316 2 กับในที่นี้ หมายถึง วิวัฏฏฏฐายีอสงไขยกัป ช่วงที่กับกำลังเจริญ เริ่มมีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นบนโลกและจักรวาล * ทสกนิทเทส, พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์, มก. เล่ม 78 หน้า 685 บ ท ที 4 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 2 ก ร ร ม ใ ห้ ผล ตามลำดับ DOU 85
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More