ข้อความต้นฉบับในหน้า
กรรมขาวปะปนกัน ได้แก่ มนุษย์ เทวดาบางพวก วินิบาตบางพวก เช่นสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น
4) กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม หมายถึง พระอรหันต์คือ
ผู้ที่ละเจตนาเครื่องปรุงแต่งให้เกิดกุศลกรรมและอกุศลกรรม ละบุญบาปเสียได้จึงทำให้ท่านหลุดพ้นเข้าสู่
พระนิพพาน
ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของกรรมกับลักษณะของจิต ทำกรรมดีจิตก็ผ่องใส กรรมนั้นจึง
เปรียบเป็นกรรมขาวคือทำให้จิตขาวสะอาด ส่วนทำกรรมชั่วจิตก็เศร้าหมอง กรรมนั้นจึงเปรียบเป็นกรรม
ดำคือทำให้จิตมืดดำ ทำกรรมดำเกิดบาปอกุศลละโลกไปนรก ทำกรรมขาวเกิดบุญกุศลละโลกไปสวรรค์
ทำทั้งกรรมขาวและกรรมดำเกิดทั้งบุญทั้งบาป ละโลกแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์ดิรัจฉาน
บ้าง ส่วนผู้ที่ละบุญละบาปคือผู้ถึงฝั่งพระนิพพาน ไม่ต้องกลับมาเวียนตายเวียนเกิดในภพ 3 อีก
1.2.9 ประเภทของกรรมโดยสังเขป
โครงสร้างภาพรวมเรื่องกรรม มีความเป็นมาหลายยุคหลายสมัย เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยม
อย่างแพร่หลาย ซึ่งจุดกำเนิดอย่างจริงจังและระยะเวลาการสืบทอดดำรงคำสอนสืบต่อกันมาทางฝ่าย
พระพุทธศาสนานั้น แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ
ยุคสมัยพุทธกาล นับจากวันตรัสรู้ธรรม ทรงค้นพบเรื่องราวความเป็นจริงของทุกชีวิตว่า เว้น
จากพระพุทธองค์แล้วทุกหมู่สัตว์ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม และเพราะอาศัยพระมหากรุณาธิคุณที่
ทรงสั่งสอนหมู่สัตว์ให้รู้แจ้ง จึงเป็นจุดกำเนิดความรู้เรื่องกรรมอย่างจริงจัง ซึ่งจากการศึกษาเรื่องราวที่
ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่าทรงจำแนกกรรมออกมาในลักษณะการให้ผลของกรรมตามกาล เพราะ
ประสงค์ให้เห็นว่าการให้ผลของกรรมนั้นยาวนาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม วาระการให้ผลกรรมในอัตภาพปัจจุบัน คือ อัตภาพในชาตินี้
เช่น มนุษย์ เทวดา สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย เป็นต้น กรรมจะให้ผลในอัตภาพปัจจุบันทันทีหลังจาก
ที่ทำ เช่น อาชญากรทั้งหลายที่ถูกจับตาย หรือผึ้งหลังจากต่อยแล้วตัวเองก็ตายทันทีเหมือนกัน ฉะนั้น
เมื่อทำกรรมแล้ว ผลของกรรมจะเริ่มนับหนึ่งที่ปัจจุบันชาติแล้วก็ส่งผลต่อๆ ไป
วาระที่ 2 อุปปัชชเวทนียกรรม วาระการให้ผลกรรมในอัตภาพหน้า คือ อัตภาพใหม่หลังจาก
ละโลก เช่น อัตภาพปัจจุบันเป็นมนุษย์ เมื่อละโลกไปบังเกิดเป็นเทวดา อัตภาพเทวดาคืออัตภาพใหม่
วาระที่ 3 อปรปริยายเวทนียกรรม วาระการให้ผลกรรมในอัตภาพต่อๆ ไป คือ อัตภาพใหม่ที่
เวียนเกิดเวียนตายต่อๆ ไป จนกว่าจะหมดสิ้นกิเลสจึงถือว่ายุติการให้ผลของกรรม เช่น เมื่อจุติจากเป็น
อลคัททูปมสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 18 ข้อ 280 หน้า 287
24 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม