เรื่องราวของมัฏฐกุณฑลี GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 99
หน้าที่ 99 / 214

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับพราหมณ์ที่มีบุตรชายชื่อมัฏฐกุณฑลี ที่เป็นโรคและไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเนื่องจากความตระหนี่ของพ่อ เมื่อมัฏฐกุณฑลีใกล้ตายได้แสดงจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะไม่มีโอกาสทำทานหรือฟังธรรมแท้จริง แต่ในการทำจิตเลื่อมใสก็ได้ส่งผลให้เขาไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ข้อความนี้ยังนำเสนอถึงความหมายของอาจิณณกรรมที่ว่าเป็นกรรมที่ทำเป็นประจำซึ่งส่งผลต่อชีวิต

หัวข้อประเด็น

-มัฏฐกุณฑลี
-พระพุทธเจ้า
-ความตระหนี่
-อาจิณณกรรม
-การทำจิตเลื่อมใส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผู้คนจึงพากันเรียกว่า อทินนปุพพกะ เขามีบุตรชายอันเป็นที่รักเพียงคนเดียว ทั้งที่เขาปรารถนาที่จะทำ เครื่องประดับให้กับบุตรชาย แต่ด้วยความที่เป็นคนตระหนี่จึงได้ลงมือทำเครื่องประดับด้วยตนเอง โดยเอา ทองคำมาทำเป็นตุ้มหูเกลี้ยง ไม่มีลวดลายให้แก่บุตรชาย ผู้คนจึงพากันเรียกบุตรชายของเขาว่า มัฏฐกุณฑลี ซึ่งแปลว่า นายตุ้มหูเกลี้ยง ต่อมาเมื่อบุตรชายของเขาอายุได้ 16 ปี ได้ป่วยเป็นโรคผอมเหลือง ภรรยาของเขาจึงบอกให้เขา หาหมอมารักษาบุตรชาย แต่ด้วยความตระหนี่เขาจึงเพียงแต่เดินทางไปถามสูตรยาจากหมอเพื่อเอามา รักษาบุตรชาย แต่โรคกลับมีอาการหนักยิ่งขึ้น พราหมณ์จนปัญญาที่จะรักษา จึงไปพาหมอมารักษา แต่ เมื่อหมอมาดูอาการแล้วได้ปฏิเสธที่จะรักษา เนื่องจากอาการของมัฏฐกุณฑลีหนักมากเกินกว่าที่จะรักษา เมื่ออาการป่วยของบุตรชายหนักยิ่งขึ้น พราหมณ์จึงนำบุตรชายไปนอนที่ระเบียงภายนอกบ้าน เพราะกลัวหมู่ญาติที่มาเยี่ยมบุตรชายจะเห็นทรัพย์สมบัติของตนครั้นเวลาใกล้รุ่งวันหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงตรวจดูสรรพสัตว์ที่จะทรงโปรด ในข่ายพระญาณของพระพุทธองค์ได้ ปรากฏภาพของมัฏฐกุณฑลีขึ้น เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะเสด็จไปในที่นั้นแล้ว จึง เสด็จเข้าไปถึงประตูบ้านของพราหมณ์ ซึ่งในขณะนั้น มัฏฐกุณฑลีนอนหันหน้าเข้าไปภายในบ้าน พระพุทธ องค์จึงเปล่งพระรัศมีวาบหนึ่ง ทำให้มัฏฐกุณฑลีเห็นแสงแล้วสงสัยว่าเป็นแสงอะไร จึงพลิกตัวกลับไป เมื่อ เห็นพระบรมศาสดาก็คิดว่า เพราะบิดาของเขาเป็นคนตระหนี่ ทำให้เขาไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ไม่ได้ถวายทาน และฟังธรรม แต่เดี๋ยวนี้แม้แต่มือสองข้างก็ยกไม่ไหว ไม่สามารถทำประการใดได้ จึงทำ เพียงจิตให้เลื่อมใส เมื่อพระพุทธองค์ทราบว่าเขาทำจิตให้เลื่อมใสแล้วจึงเสด็จหลีกไปมัฏฐกุณฑลีก็ได้เสียชีวิต แล้วไปบังเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในวิมานทองสูง 30 โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มัฏฐกุณฑลีไม่ได้ทำทานหรือฟังพระธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แต่ได้ทำจิตให้ เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาที่ใกล้ตาย จึงทำให้ได้ไปบังเกิดเป็นสหายของเทวดาบนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ ด้วยผลของอาสันนกรรมฝ่ายที่เป็นกุศลกรรมนั่นเอง 4.3 อาจิณณกรรม 4.3.1 ความหมายของอาจิณณกรรม อาจิณณกรรม คือ อกุศลกรรมและกุศลกรรมที่กระทำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำหรือทำบ่อยๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อกระทำบ่อยๆ เข้าก็จะกลายเป็นอาจิณณกรรม บางครั้งอาจเรียกอีก ชื่อหนึ่งว่า พหุลกรรม บ ท ที่ 4 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 2 ก ร ร ม ใ ห้ ผล ตามลำดับ DOU 89
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More