พระเทวทัตและโลหิตุปบาท GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 91
หน้าที่ 91 / 214

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับพระเทวทัตผู้ผูกเวรกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลายชาติ เรื่องนี้เน้นถึงการกระทำของพระเทวทัตที่พยายามทำร้ายพระพุทธองค์จนห้อพระโลหิต ทำให้เขาต้องเผชิญกับกรรมหนัก ในขณะที่หมอชีวกผู้รักษาพระองค์กลับไม่ต้องรับกรรม ด้วยความตั้งใจที่ดี การกระทำที่ทำให้สงฆ์แตกกันยังกล่าวถึงในบริบทของอนันตริยกรรม สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระภิกษุก็ไม่สามารถทำให้สงฆ์แตกกันอย่างเต็มรูปแบบได้

หัวข้อประเด็น

-พระเทวทัต
-โลหิตุปบาท
-อนันตริยกรรม
-สังฆเภท
-การกระทำที่มีผลต่อพระพิฆเนศ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฟกช้ำและห้อพระโลหิตเท่านั้น ซึ่งเพียงเท่านี้ผู้กระทำหรือผู้เป็นต้นเหตุให้พระพุทธองค์ห้อพระโลหิต ก็ ถือว่าต้องอนันตริยกรรมแล้ว กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก เรื่องพระเทวทัตทำโลหิตุปบาท พระเทวทัตได้ผูกเวรกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลายแสนชาติจนถึงชาติปัจจุบัน โดยในสมัย พุทธกาล เทวทัตราชกุมารมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากถึงกับทูลขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ภายหลังบำเพ็ญสมณธรรมจนได้โลกียฤทธิ์ แต่ด้วยกรรมที่ได้ผูกเวรกันเอาไว้มาส่งผล จึงทำให้พระเทวทัต มีความปรารถนาจะบริหารการคณะสงฆ์แทนพระพุทธองค์ คราวหนึ่งหลังจากที่ทำให้อชาตศัตรูกุมารเลื่อมใสในตนแล้ว ก็ได้ปีนขึ้นไปบนภูเขา โดยเลือกหิน ก้อนใหญ่เท่าเรือนยอดก้อนหนึ่ง แล้วนั่งจดจ้องคอยให้พระพุทธองค์เสด็จมา เมื่อพระพุทธองค์เสด็จผ่าน มาก็ได้ผลักก้อนหินลงมาทันทีหมายจะปลงพระชนม์ เมื่อก้อนหินตกลงมาใกล้จะถึงพระองค์ ก็พลันบังเกิด มีศิลาใหญ่ 2 ก้อนผุดขึ้นมาจากปฐพี น้อมยอดเข้าหากันมาขวางกั้นทำให้ก้อนหินใหญ่นั้นหยุดในทันที ก้อนหินใหญ่นั้นได้แตกออกเป็นสะเก็ดกระจาย มีสะเก็ดหินชิ้นหนึ่งกระเด็นมาถูกปลายพระบาทของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทำให้พระพุทธองค์ห้อพระโลหิต ดังนั้น พระเทวทัตจึงได้รับกรรมหนักขั้นโลหิตุปบาทต้องรับผลอนันตริยกรรม ต่อมาหมอชีวก โกมารภัจจ์ทำการผ่าพระฉวีวรรณ บริเวณที่ถูกสะเก็ดหินออกด้วยมีด รีดเอาพระโลหิตร้ายออกจากพระบาท การกระทำของหมอชีวกไม่จัดเป็นโลหิตุปบาท ไม่ต้องรับผลอนันตริยกรรม เพราะหมอชีวกมีกุศลเจตนา ต้องการถวายการรักษาพระพุทธองค์ 2.5 สังฆเภท สังฆเภท คือ การกระทำที่ทำให้พระภิกษุแตกกัน ซึ่งการทำให้สงฆ์แตกกันที่เป็นอนันตริยกรรมนั้น ผู้กระทำจะต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น หากเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่พระภิกษุ เช่น สามเณรหรือคฤหัสถ์ ก็ไม่จัดเป็น อนันตริยกรรม เป็นแต่เพียงได้สร้างกรรมหนักที่มีกำลังน้อยกว่าการที่พระภิกษุทำให้สงฆ์แตกกัน พระภิกษุผู้กระทำสังฆเภทนั้น ต้องกระทำพร้อมด้วยเหตุ 5 ประการ ความเป็นสังฆเภทจึงจะสมบูรณ์ หากว่ากระทำไม่ครบเหตุ 5 ประการแล้ว ถึงแม้ว่าจะยุยงส่งเสริมให้ภิกษุทั้งหลายระส่ำระสายปั่นป่วน วิวาทสบประมาทกัน ด่าว่าโบยตีกัน ไม่พอใจกัน ไม่เข้าหน้าเข้าตากัน ต่างก็หันหน้าไปรูปละทิศละทาง ลักษณะอย่างนี้ ถือว่าเป็นอกุศลกรรม แต่ยังไม่เป็นสังฆเภท เนื่องจากสังฆเภทจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อ พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท, พระวินัยปิฎก จุลวรรค, มก. เล่ม 9 หน้า 293 บ ท ที 4 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 2 ก ร ร ม ใ ห้ ผ ล ต า ม ลำดับ DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More