ความเข้าใจในบาป คุณ โทษ และกฎแห่งกรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 26
หน้าที่ 26 / 214

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าใจคำว่า บาป ซึ่งหมายถึงการมีมลทินที่ทำให้เกิดความทุกข์ หรือผลกระทบจากการกระทำที่ไม่ดี และการเข้าใจคุณ ซึ่งคือผลที่ได้รับจากการกระทำที่ดี รวมถึงโทษที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ การตัดสินใจในชีวิตจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง การกระทำไม่ว่าจะดีหรือชั่วย่อมได้รับผลตามนั้น นอกจากนี้ยังมีการชี้ให้เห็นว่า กฎแห่งกรรมไม่มีการยกเว้นสำหรับใคร ทุกคนล้วนต้องเผชิญกับผลของการกระทำของตน

หัวข้อประเด็น

-บาปและผลที่เกิดขึ้น
-คุณและโทษในชีวิต
-กฎแห่งกรรมและธรรมชาติ
-การตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6) บาป ว่าโดยเหตุ หมายถึง ความเศร้าหมองขุ่นมัว ความเลวทราม ความสกปรก ทำให้กาย วาจา ใจมีมลทิน ว่าโดยผล หมายถึง ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความเศร้าโศกเสียใจ ความ เดือดร้อนใจ บาปเกิดเมื่อประพฤติอกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ หรือที่เรียกว่า บาปอกุศล บาปกรรม เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีใจตกต่ำ 7) คุณ หมายถึงประโยชน์หรือผลที่ได้รับ จากการทำถูก ทำดี ทำไปแล้วได้รับการสรรเสริญยกย่อง 8) โทษ หมายถึง ผลที่ได้รับจากการทำผิด ทำชั่ว ทำไปแล้วถูกตำหนิติเตียน 9) ควร คือ รู้สิ่งใดควรทำ หมายถึง สิ่งที่ทำลงไปนั้น ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิด ไม่เสียหาย แต่รู้ว่าถ้าทำ แล้วจะเกิดคุณงามความดี ความถูกต้อง แล้วเราก็ตั้งใจทำสิ่งนั้นไปด้วยความเต็มใจ 10) ไม่ควร คือ รู้สิ่งใดไม่ควรทำ หมายถึง สิ่งที่ทำลงไปนั้น ถ้าทำไปแล้วก็ไม่ถึงกับผิด ไม่เสียหาย แต่เรารู้ว่าถ้าทำไปแล้วอาจจะขัดอกขัดใจ ถูกตำหนิได้ เราก็จะไม่ทำสิ่งนั้น เมื่อนักศึกษาได้ทำความเข้าใจกับนิยามของคำเหล่านี้ดีแล้ว จะทำให้เกิดความชัดเจน เมื่อจะต้อง ตัดสินใจคิดพูดทำอะไรสักอย่าง เพื่อจะได้ตอบตนเองได้ว่าสิ่งที่กระทำไปนั้นทำไปแล้วจะเกิดอะไร มีผล กระทบอย่างไรในการดำเนินชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนตั้งอยู่บน พื้นฐานของการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจทั้งสิ้น 1.2.4 กฎแห่งกรรมคืออะไร กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำ เป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นกฎของธรรมชาติ คือ ธรรม ฝ่ายใดเกิดขึ้นในใจก็ทำกรรมฝ่ายนั้น เกิดกุศลธรรมก็ประกอบกุศลกรรมเกิดอกุศลธรรมก็ประกอบอกุศลกรรม อย่างนี้เรียกว่า ธรรมชาติ กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต คือ ประกอบเหตุอย่างนี้ต้อง ไปมีผลอย่างนั้น ประสบผลอย่างนี้เพราะประกอบเหตุมาอย่างนั้น กรรม คือ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ จะดีหรือชั่ว เจตนาหรือไม่ จะน้อยหรือมาก ทุกเพศทุกวัย ล้วนมีผลทั้งสิ้นที่ไม่มีผลไม่มีเลย ผลบางอย่างปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น บางอย่างเห็นผลตอนตายไปแล้ว กฎแห่งกรรมนี้ไร้ความปรานี ไม่มีข้อยกเว้นให้กับใครๆ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดก็ตามในโลก จะอยู่บนดิน บนน้ำ บนอากาศ ดวงจันทร์ ดวงดาว ก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระบรม โพธิสัตว์นักสร้างบารมีก็ยังต้องเสวยวิบากกรรม เพราะกรรมติดตามตัวเราไปทุกที่ทุกสถานเหมือนเงา ติดตามตัว เมื่อเรายังหนีตัวเราไม่พ้น เราก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้นเหมือนกัน กฎหมายหรือกฎเกณฑ์อะไร บางอย่างในโลกที่มนุษย์สมมติกันขึ้นมา ยังหลีกเลี่ยงเปลี่ยนแปลงได้ ปีนี้ใช้อย่างนี้ปีหน้าเปลี่ยนไปอีกอย่าง แต่กฎแห่งกรรมไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทำดีได้ชั่วไม่มี ทำชั่ว ได้ดีก็ไม่มี 16 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More