แนวคิดเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมและการดำเนินชีวิต GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 189
หน้าที่ 189 / 214

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจในชีวิตของมนุษย์ หากไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องอาจนำไปสู่การกระทำที่ผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว โดยความเห็นถือเป็นเข็มทิศสำคัญที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองหรือความเสื่อมในชีวิต นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นผลจากการกระทำดีและชั่วที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตหลังความตาย สุดท้ายเราสามารถเรียนรู้วิธีการหลุดพ้นจากกฎแห่งกรรมเพื่อเข้าสู่พระนิพพาน

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-การเวียนว่ายตายเกิด
-สัมมาทิฏฐิ
-วิบากกรรม
-การหลุดพ้นจากกฎแห่งกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. มนุษย์ทุกคนจะต้องมีความเห็นความเข้าใจถูกต้องในเรื่องกฎแห่งกรรม มิฉะนั้นจะทำให้พลั้ง พลาด เผลอไปทำผิดจนถึงผิดเป็นอาจิณ โดยที่ตนเองอาจไม่ทราบว่าจะมีผลตามมาอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างความเห็นของตนให้ถูกต้อง เพราะว่าความเห็นเหมือน เข็มทิศ มีความคิดเห็นถูกชีวิตก็ดำเนินไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง มีความคิดเห็นผิดชีวิตก็ดำเนิน ไปสู่ความเสื่อม 2. เมื่อใดที่พระพุทธองค์ตรัสสั่งสอนพุทธบริษัทเรื่องกฎแห่งกรรม เมื่อนั้นก็จะตรัสถึงเรื่องการ เวียนว่ายตายเกิดควบคู่ไปด้วยเสมอ ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้ เพราะเป็นหลักการแห่ง เหตุและผลรองรับกัน เป็นเครื่องยืนยันว่าชีวิตหลังความตายยังมีอยู่ 3. พระอริยบุคคลคือผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง บรรลุคุณวิเศษบริสุทธิ์หมดจดกาย วาจา และ ใจ แม้ในชาติสุดท้ายของชีวิตสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม แต่วิบากกรรม เก่ายังสามารถส่งผลได้ เหมือนพระมหาโมคคัลลานะที่ถูกรุมทำร้ายทุบตีจนกายแตกเป็นเสี่ยง เพราะวิบากกรรมเก่าที่เคยทุบตีบิดามารดาตามมาส่งผล ดังนั้นจึงทำให้ต้องตระหนักว่า การ ดับกิเลสเข้าสู่พระนิพพานเท่านั้นคือทางหลุดพ้นจากกฎแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจอย่างชัดเจนว่า หลักสัมมาทิฏฐินั้นมีอิทธิพลทำให้เกิดการแสดงทาง พฤติกรรมไปในทางที่ดี 2. เพื่อให้นักศึกษาทราบว่าการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีปัจจัยมาจากการกระทำดี ทำชั่ว หรือ ทั้งดีและชั่วผสมกัน 3. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการและหนทางนำไปสู่การหลุดพ้นจากกฎแห่งกรรม บ ท ที่ 8 บ ท ส รุ ป ส า ร ะ สำ คั ญ กฎแห่งกรรมเชิงสัมพันธ์ DOU 179
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More