การบรรลุฌานสมาบัติและกรรมในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 125
หน้าที่ 125 / 214

สรุปเนื้อหา

บทเรียนนี้สรุปเรื่องกรรมแต่ละชนิดและความสัมพันธ์กับการบรรลุฌานสมาบัติของท่านกาฬเทวิลดาบส โดยกรรมแต่ละประเภทให้ผลในลักษณะที่ต่างกันตั้งแต่ปัจจุบันชาติไปจนถึงชาติหน้าและต่อๆ ไป รวมถึงอโหสิกรรมที่ไม่ให้ผล ทำให้เข้าใจหลักการทำดีและทำชั่วในบริบทของการพัฒนาตนเองในพระพุทธศาสนา การบรรลุฌานมีความสำคัญต่อการเกิดใหม่และความก้าวหน้าในพระพุทธศาสนานั้นจึงต้องพิจารณาให้ถ่องแท้

หัวข้อประเด็น

-การบรรลุฌานสมาบัติ
-ประเภทของกรรม
-ผลของกรรมตามชาติต่างๆ
-อโหสิกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เจ้าชายสิทธัตถะ การที่ท่านกาฬเทวิลดาบสได้บรรลุฌานสมาบัตินั้น ทำให้ต้องไปสู่พรหมโลก ซึ่งมีอายุขัย ที่ยาวนานมาก และการบรรลุฌานก็เป็นครุกรรม แม้ว่าท่านกาฬเทวิลดาบสจะได้บรรลุฌานที่ 1 จนถึงฌาน ที่ 7 ซึ่งถือว่าเป็นอุปปัชชเวทนียกรรมที่สามารถส่งผลได้ แต่ก็ต้องกลายเป็นอโหสิกรรม เพราะฌานสมาบัติ ที่ 8 เพียงฌานเดียวเท่านั้นที่เข้าทำหน้าที่ส่งผลให้ท่านไปบังเกิดเป็นพรหม เปรียบเสมือนกับว่าท่านดาบส มีข้าวอยู่ 8 คำ เมื่อบริโภคไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกอิ่มที่คำที่ 8 ซึ่งเป็นคำสุดท้ายพอดี ส่วนคำที่ 1-7 ก็เป็นตัวช่วย เสริม จึงกลายเป็นอโหสิกกรรม จากการศึกษาในบทเรียนนี้ พอจะสรุปได้ว่า กรรมแต่ละชนิดนั้นให้ผลในลักษณะใด ดังนี้ ปากกาลจตุกกะ คือ กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา ซึ่งเป็นกรรมในหมวดที่ 3 โดยมีเนื้อหาที่ต่อจาก กิจจจตุกกะที่กล่าวถึงหมวดของกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ และปากทานปริยายจตุกกะที่กล่าวถึงหมวดของ กรรมที่ให้ผลตามลำดับ ซึ่งกรรมให้ผลตามกาลเวลานี้มีอยู่ 4 ประเภท คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันชาติ ซึ่งเปรียบเหมือนกับต้นไม้ที่มีอายุน้อย ยืนต้นอยู่ได้ไม่นานประเภทที่ 1 เพราะเป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน ไม่สามารถที่จะให้ผลข้ามชาติได้ มีกำลังให้ ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น เมื่อบุคคลใดก็ตามที่กระทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรม ย่อมได้รับผลทั้งที่เป็น ทุกข์หรือเป็นสุขในปัจจุบันชาตินี้ โดยไม่ต้องรอจนถึงชาติหน้า อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า ซึ่งเปรียบเหมือนกับต้นไม้ที่มีอายุน้อย ยืนต้น อยู่ได้ไม่นานประเภทที่ 2 เพราะเป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน แต่ก็มีกำลังที่มากกว่าประเภทแรก เนื่องจาก กรรมประเภทนี้ให้ผลเฉพาะในชาติหน้าเท่านั้น เมื่อให้ผลแล้วก็หมดกำลังในการให้ผลเพียงแค่นั้น ถ้าบุคคล ใดก็ตามที่กระทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมประเภทนี้แล้ว ย่อมทำให้บุคคลที่กระทำกรรมไปเกิดในทุคติภูมิ หรือสุคติภูมิในชาติหน้า ซึ่งจะต้องไปเกิดต่อจากปัจจุบันชาตินี้อย่างแน่นอน อปรปริยายเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป คือ ตั้งแต่ชาติที่ 3 เป็นต้นไป ซึ่ง เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่ได้นานกว่าต้นไม้ทั้ง 2 ประเภทข้างต้น เพราะเป็นกรรมที่มีกำลังมากกว่ากรรม 2 ประเภทข้างต้น จึงสามารถให้ผลแก่บุคคลที่กระทำกรรมได้ตั้งแต่ชาติที่ 3 เป็นต้นไป และเมื่อถึงกำหนด เวลาการให้ผลก็จะยังให้ผลไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าได้โอกาสเมื่อไรก็จะให้ผลเมื่อนั้น ต่อเมื่อหมดกิเลส บรรลุพระอรหันต์เข้าพระนิพพาน กรรมประเภทนี้จึงเป็นอันสิ้นสุดการให้ผลเมื่อนั้น ซึ่งถ้าบุคคลใดกระทำ อกุศลกรรมหรือกุศลกรรมประเภทนี้แล้ว ย่อมทำให้บุคคลที่กระทำกรรมได้รับความทุกข์หรือความสุขได้ใน ชาติที่ 3 เป็นต้นไป อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกให้ผล เพราะไม่มีโอกาสให้ผลได้ทั้งอดีตกาล ปัจจุบันกาล และอนาคตกาล ซึ่งเปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่เก็บไว้นานเกินไป หรือถูกคั่วให้สุกด้วยไฟแล้ว เมล็ดพืชนั้นเมื่อนำไปปลูกก็ไม่ สามารถเจริญงอกงามขึ้นได้แม้ว่าได้ดินได้น้ำดีเพียงใดก็ตาม เพราะอโหสิกรรมนี้ถึงแม้จะสำเร็จเป็นตัว บ ท ที่ 5 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 3 ก ร ร ม ใ ห้ ผ ล ต า ม ก า ล เ ว ล า DOU 115
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More