ประโยชน์ของแม่น้ำพาหุกา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 142
หน้าที่ 142 / 214

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาภายในเล่มนี้กล่าวถึงแม่น้ำพาหุกาที่มีบทบาทในการชำระล้างบาปกรรม แต่ที่จริงแล้วการอาบน้ำเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้จิตใจบริสุทธิ์ได้ น้ำที่ดีมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การชำระล้างจิตใจต้องอาศัยธรรมะครับ ได้แก่ การทำความดี สนับสนุนให้คนมีกรรมดี ลดการเบียดเบียนกัน และรักษาศีล ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้ใจสะอาด แม้ว่าแม่น้ำต่างๆ จะมีชื่อเสียงในเรื่องการชำระบาป แต่ยังมีหลายสิ่งที่ผู้ไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องอาจเข้าใจผิด นอกจากนี้ บาปกรรมเป็นสิ่งที่อยู่ที่จิตใจของบุคคล ไม่สามารถทำให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดาได้ ผลที่แท้จริงของบาปกรรม ต้องขึ้นอยู่กับความประพฤติตลอดเวลา และการทำความดีบางอย่างสามารถช่วยให้บรรลุความสะอาดได้มากขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ผลของแม่น้ำพาหุกา
-การทำความดี
-อาบน้ำในศาสนา
-การชำระบาปกรรม
-การปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พ. จะมีประโยชน์อะไรด้วยแม่น้ำพาหุกาเล่า แม่น้ำพาหุกาจักทำประโยชน์อะไรได้ สุ. แม่น้ำพาหุกา ชนเป็นอันมากยอมรับว่าให้ความบริสุทธิ์ได้ ยอมรับว่าเป็นบุญ จึงพากันไป ลอยบาปกรรมของตนในแม่น้ำพาหุกา พ. คนพาลมีบาปกรรมมุ่งไปยังแม่น้ำพาหุกา แม่น้ำคยา ท่านอธิกักกะ แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำ ส รัสดี ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำพาหุมดี แม้เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำ พาหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระบุคคลผู้มีเวร ทำกรรมอันหยาบช้า ผู้มีกรรมอันเป็นบาปนั้นให้บริสุทธิ์ไม่ได้ เลย ผัคคุณฤกษ์ (ถือกันว่าผู้อาบน้ำในฤกษ์นี้ย่อมชำระบาปที่ทำมาทั้งปีได้) อุโบสถ (การจำศีลตามกาล) วัตร (ความประพฤติ) ย่อมสำเร็จแก่ผู้บริสุทธิ์มีการงานอันสะอาดทุกเมื่อ ท่านจงอาบน้ำในคำสอนของเรานี้ จงทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่กล่าวเท็จ ไม่ เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือเอาวัตถุที่เจ้าของไม่ให้ เป็นผู้มีความเชื่อ (ตามเหตุผล) ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านจักต้องไป อาบน้ำในแม่น้ำคยาทำไม แม้การดื่มน้ำแม่น้ำคยาจักช่วยอะไรท่านได้ จากพระสูตรนี้สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. การอาบน้ำไม่ว่าจะอาบที่ไหน อาบอย่างไร ใช้น้ำอะไร ก็เป็นเพียงการอาบน้ำเท่านั้น เป็น กิริยากลางๆ ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เพราะทำให้สะอาดเพียงแค่ร่างกายเท่านั้น หาได้ทำให้จิตใจสะอาดขึ้นไม่ 2. หากน้ำล้างบาปได้จริง สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต เกิดในน้ำ กินอยู่ เจริญเติบโตและ ตายในน้ำ ก็เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดและได้ไปสวรรค์กันหมด ทั้งที่ความจริงสัตว์น้ำจำนวนมากต่างก็ทำบาป ด้วยการกินซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ดังคำพังเพยที่ว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หากน้ำล้างบาปได้ แหล่ง อบายมุขบางแห่งจะไม่กลายเป็นแหล่งบุญกุศลไปหรือ 3. บาปกรรมอยู่ที่จิตใจซึ่งเป็นนามธรรม ไม่อาจชำระด้วยน้ำซึ่งเป็นรูปธรรม มีแต่ธรรมะที่เป็น นามธรรมด้วยกันจึงจะสามารถชำระล้างจิตใจได้ ยิ่งอาบด้วยธรรมะ คือ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญ ภาวนามากเพียงใด จิตใจก็ยิ่งสะอาดขึ้นเพียงนั้น 4. ผู้ที่ยังทำบาปกรรมอยู่ ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ แม้จะอาบน้ำ รดน้ำมนต์ 9 วัด หรือทำพิธี สะเดาะเคราะห์แล้ว ก็ชื่อว่าเป็นคนไม่สะอาดอยู่ดี กายของเขาไม่สะอาดเพราะยังประพฤติกายทุจริต วาจาของเขาไม่สะอาด เพราะยังกล่าววจีทุจริต ใจของเขาไม่สะอาด เพราะยังมีความโลภ ความพยาบาท ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรมอยู่ตราบใด เมื่อเว้นจากบาปทั้งปวง บำเพ็ญบุญเป็นประจำ แม้จะไม่ได้ อาบน้ำ ไม่ได้รดน้ำมนต์ ก็ชื่อว่าเป็นคนสะอาดอยู่เสมอ จากเนื้อหาที่กล่าวมาแล้วนั้น นักศึกษาคงจะเข้าใจหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่อง 132 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More