กฎแห่งกรรมและการให้ผลของกรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 200
หน้าที่ 200 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการรักษาศีลและความสำคัญของสมาธิในการเข้าใจและเกิดปัญญาเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม โดยอธิบายว่า กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องซับซ้อนที่ต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งและต้องอาศัยพระปัญญาธิคุณของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าในการเปิดเผยความรู้เรื่องนี้ แม้ไม่ใช่ชาวพุทธก็สามารถศึกษาได้เพราะธรรมเป็นสากลและเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-การรักษาศีล
-ความสำคัญของสมาธิ
-พระสูตรเกี่ยวกับกรรม
-วิธีการเข้าใจกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องรักษาศีลและรักษาให้อยู่ในระดับที่ว่า แม้แต่คิดจะทำชั่วก็อย่าให้เกิดขึ้น ลักษณะแบบนี้เมื่อกายสงบจิต ก็สงบ เมื่อเกิดกายและจิตสงบสมาธิจึงบังเกิด เมื่อสมาธิคือความตั้งมั่นแห่งจิตแน่วแน่มากเท่าไร แสงสว่าง คือปัญญาก็เกิดขึ้นมากเท่านั้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นมากเท่าไรก็จะรู้แจ้งเรื่องโลกและชีวิต กฎแห่งกรรม ตรงไปตามความเป็นจริงมากเท่านั้น 8.3 พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรมและการให้ผลของกรรม หลักกฎแห่งกรรมที่ว่า “บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมได้รับผลของกรรมนั้น” แม้ว่ามนุษย์ผ่านการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารมานับภพนับชาติไม่ถ้วนก็ตามที ด้วยเหตุที่มนุษย์มีสติ ปัญญาน้อยจึงไม่สามารถรู้เห็นกระบวนการของกฎแห่งกรรมนี้ไปตามความเป็นจริง เพราะถูกอวิชชาคือ ความไม่รู้ ความมืดบอดปิดบัง ทำให้หลงลืมเรื่องราวความดีและความผิดพลาดของตนในอดีตชาติที่แล้วมา ทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมามักมีการตั้งคำถามชวนให้ปวดหัวว่า การทำดีจะได้ดี การทำชั่วได้จะชั่ว จริงหรือ? ทำให้เกิดความสับสน เพราะในปัจจุบันนักศึกษาบางท่านอาจพบเห็นผู้กระทำความชั่วแต่ได้ดี แต่ในทางกลับกัน ผู้กระทำความดีแต่ได้ชั่ว เมื่อศึกษากันอย่างลึกซึ้งจะพบว่า กฎแห่งกรรมเป็นเรื่อง ซับซ้อนยากต่อการทำความเข้าใจด้วยสติปัญญาของปุถุชน ต้องอาศัยพระปัญญาธิคุณของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะเปิดเผยไขปริศนาความลับนี้ให้กระจ่างแจ้ง ในฐานะที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนา ชาวพุทธจึงต้องรู้ ต้องศึกษา “หลักกฎแห่งกรรม” แม้ไม่ใช่ ชาวพุทธแต่มีความสนใจก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเข้ามาศึกษา เพราะธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้นเป็น เรื่องสากลที่ทุกคนต้องประสบ เนื่องจากเราเกิดไม่ทันพุทธสมัย แต่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบกุญแจไข ปริศนานี้ไว้ให้แล้ว มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกฝ่ายพระสูตร ซึ่งพระสูตรที่ว่าด้วยหลักกฎแห่งกรรมมีอยู่ เป็นจำนวนมาก แต่นำมาเพียงบางส่วนให้ศึกษาเฉพาะที่มีเนื้อความเป็นหลักสำคัญของเรื่องกฎแห่งกรรม ดังพระสูตรต่อไปนี้ 8.3.1 จูฬกัมมวิภังคสูตร ว่าด้วยกฎแห่งกรรม สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขต พระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วได้ ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จูฬกัมมวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 หน้า 251-259 190 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More