อุปฆาตกกรรมและพระเจ้าอชาตศัตรู GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 77
หน้าที่ 77 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงแนวคิดของอุปฆาตกกรรมที่มีผลกระทบต่อกรรมโดยเฉพาะกรณีศึกษาของพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่ความปรารถนาของพระมเหสีที่หวังให้พระโอรสนั้นสิ้นพระชนม์ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อราชสมบัติ จนถึงทางเลือกต่างๆ ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงตัดสินใจ ซึ่งส่งผลต่อเส้นทางชีวิตของพระองค์ เป็นการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรรมและผลลัพธ์ในชีวิตมนุษย์.

หัวข้อประเด็น

-อุปฆาตกกรรม
-กรรมและผลกระทบ
-พระเจ้าอชาตศัตรู
-พุทธศาสนา
-กรณีศึกษาในพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สิ้นทรัพย์สมบัติไปอย่างช้าๆ ซึ่งมิได้ตัดอายุ ส่วนอุปฆาตกกรรม เมื่อตามมาทันย่อมทำหน้าที่เข้าไปฆ่า เข้าไปตัดกรรมที่มีสภาพตรงกันข้าม กับตนให้เด็ดขาดในปัจจุบันทันด่วน ไม่ชักช้าเหมือนอุปปีฬกกรรม เช่น ถ้าเป็นอุปฆาตกกรรมฝ่ายอกุศล เมื่อตามมาทันย่อมเข้าไปตัดกุศลกรรมของมนุษย์ในทันทีทันใด ทำให้คนนั้นสิ้นเนื้อประดาตัว ทรัพย์สมบัติ พินาศย่อยยับ และก็จะทำให้หมดสิ้นอายุไปบังเกิดในอบายภูมิได้ ทั้งๆ ที่ได้สร้างบุญมาอย่างมากมาย อุปฆาตกกรรมก็มีอยู่ 2 ฝ่ายเช่นกัน คือ อุปฆาตกกรรมฝ่ายที่เป็นกุศลและอุปฆาตกกรรมฝ่ายที่ เป็นอกุศล อุปฆาตกกรรมฝ่ายที่เป็นอกุศลเมื่อตามมาทัน ก็ย่อมทำหน้าที่เข้าไปฆ่ากุศลกรรมให้สิ้นลงทันที ไม่ให้เหลือเลย ดังเช่นกรณีศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ 3.4.3 กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎกฝ่ายอกุศลกรรม กรรมของพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นพระราชาผู้ครองแคว้นมคธอัน เป็นแคว้นใหญ่แคว้นมหาอำนาจหนึ่งในสี่ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระราชาผู้มีความเลื่อมใส ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง อีกทั้งทรงบรรลุเป็นพระโสดาบัน ในขณะที่พระเจ้าอชาตศัตรูยังอยู่ในพระครรภ์ของพระราชมารดานั้น พระนางทรงมีพระอาการ แพ้ท้องอยากจะเสวยพระโลหิตในพระพาหาของพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระสวามี เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ทรงทราบ พระองค์มีพระทัยเมตตาพระโอรสที่ยังอยู่ในพระครรภ์ จึงทรงใช้พระแสงกรีดพระพาหาให้ พระมเหสีได้เสวยพระโลหิต ซึ่งเมื่อพระนางได้เสวยแล้วอาการแพ้ท้องก็สงบลง พระเจ้าพิมพิสารทรงนำ เรื่องราวที่พระนางแพ้ท้องอยากเสวยพระโลหิตของพระองค์เล่าให้เหล่าโหราจารย์ประจำพระนครฟังและ ตรัสถามเหตุการณ์ว่าดีร้ายอย่างไร ซึ่งเหล่าโหราจารย์ได้กราบทูลว่าพระโอรสนั้นจะเป็นศัตรูต่อราชสมบัติ แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงกระทำประการใด ครั้นพระมเหสีทรงทราบเรื่องราวที่เหล่าโหราจารย์กราบทูลว่าพระโอรสที่อยู่ในพระครรภ์ของ พระนางจะเป็นศัตรูต่อราชสมบัติจึงไม่ปรารถนาจะให้พระโอรสนั้นประสูติ ได้ทรงพยายามกระทำประการ ต่างๆ เพื่อให้พระโอรสนั้นสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบพระองค์ทรง ห้ามพระนางเพราะทรงไม่ประสงค์จะให้พระนางกระทำบาป เมื่อพระโอรสประสูติแล้วพระเจ้าพิมพิสารทรงให้พระนามว่า อชาตศัตรู เมื่อพระกุมารเจริญ พรรษาขึ้นพระองค์ทรงรู้จักและคบหากับพระเทวทัตซึ่งเป็นภิกษุพาล คิดน้อยใจที่ตนไม่ได้ลาภสักการะ เหมือนพระเถระผู้ใหญ่องค์อื่น อีกทั้งมีจิตคิดประทุษร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อหวังปกครองสงฆ์เสียเอง อรรถกถาสามัญญผลสูตร, ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 หน้า 288 บ ท ที่ 3 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 1 ก ร ร ม ใ ห้ ผ ล ต า ม ห น้ า ที่ DOU 67
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More