ความเข้าใจในกตัตตากรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 103
หน้าที่ 103 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงกตัตตากรรมที่มีทั้งฝ่ายกุศลกรรมและอกุศลกรรม โดยเฉพาะความเข้าใจในความหมายของกตัตตากรรมที่ไม่มีเจตนา ซึ่งอาจส่งผลได้ในภายหลังแม้จะไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยกตัวอย่างจากพระไตรปิฎกที่แสดงให้เห็นถึงผลของการกระทำที่ไม่เคารพต่อพระพุทธเจ้าและอาจนำไปสู่การเกิดในทุคติภูมิได้ การกระทำในลักษณะนี้แม้จะไม่มีเจตนาแรงกล้าแต่ก็ถือเป็นกรรมที่มีผลในปัจจุบันและอนาคต

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกตัตตากรรม
-กตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรม
-กตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรม
-ผลของการกระทำที่ไม่มีเจตนา
-ตัวอย่างจากพระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่ยังไม่รู้อะไรเลย ให้ถวายทานแก่พระสงฆ์ หรือเวลาที่พระผ่านมา ก็สอนให้พนมมือไหว้ด้วยความเคารพ ทั้งๆ ที่ใจของลูกนั้นยังไม่รู้อะไรเลย แต่ว่ากุศลกรรมที่ได้ทำลงไปนั้น ย่อมให้ผล แม้จะทำแบบไม่รู้เรื่องก็ตาม แต่กุศลกรรมที่สักแต่ว่าทำก็เป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน เพราะหลักของกรรมนั้นมีอยู่ว่า “เจตนาห์ ภิกฺขเว กมฺม วทามิ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม” ฉะนั้นถ้าไม่มีเจตนา ก็ไม่เรียกว่าเป็น กรรม หรือถ้าเป็นกรรม ก็ไม่ส่งผลรุนแรงเท่ากับการกระทำที่มีเจตนาแรงกล้า กตัตตากรรมนี้จึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะให้ผลแน่นอน เพราะเป็นกรรมที่มีกำลังอ่อนที่ช่วยเสริม กรรมอื่น ซึ่งเปรียบกตัตตากรรมเหมือนลูกศรที่คนตาบอดยิงออกจากแก่งธนู ปกติแล้วลูกศรที่คนตาบอด ยิงออกไปไม่สามารถที่จะยิงไปให้ตรงจุดหมายได้ เพราะว่าเขาไม่ทราบถึงเป้าหมายว่าอยู่ตรงไหน เพียงแต่รู้ว่า ลูกศรนี้จะต้องตกลงมาบนพื้นดิน กตัตตากรรมก็เช่นกันที่จะกำหนดเวลาที่จะให้ผลในชาตินั้นชาตินี้ไม่ได้ กำหนดได้เพียงว่าจะต้องให้ผลแน่นอนไม่ภพชาติใดก็ภพชาติหนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะกตัตตากรรมเป็นกรรมที่ มีกำลังอ่อนจนแม้แต่ตัวผู้กระทำเองก็ไม่รู้ว่าเป็นบุญเป็นบาปหรือไม่ กระทำด้วยความไม่รู้ ด้วยเหตุนี้ กตัตตากรรมนี้จึงให้ผลโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน กตัตตากรรมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ กตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรมและกตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรม 4.4.3 กตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรม กตัตตากรรมฝ่ายอกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายบาป หรือกรรมฝ่ายชั่ว ที่จะชักนำผู้ที่กระทำกตัตตา กรรมนี้ให้ไปเกิดในทุคติภูมิ ให้ไปรับทุกข์โทษหลังจากที่ตายไปแล้ว กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎกฝ่ายอกุศลกรรม บุพกรรมของเปรต ชาวนาผู้หนึ่งที่เกิดในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า วันหนึ่งมีประชาชนพากันไปทำบุญและทำ สักการบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนเหล่านั้นได้มาชักชวนให้เขาทำบุญด้วยกัน เขาไม่เห็นประโยชน์คิด แต่เพียงว่า เสียเวลาทำมาหากิน เขาจึงพูดว่าไม่ไป เพราะเสียเวลาไถนา แม้คนเหล่านั้นจะบอกว่า การไป ทำบุญกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีกว่าการไถนา เขาจึงถามเพื่อตัดความรำคาญว่า “พระกัสสปพุทธเจ้าวิเศษอย่างไร สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านสามารถที่จะไถนาอย่างเรานี้ได้หรือไม่” คนเหล่านั้นแสดงท่าทางตกใจ แล้วก็พูดสดุดีคุณของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและตักเตือนไม่ให้เขาพูดดูหมิ่นเช่นนั้น ทั้งยังพรรณนาโทษแห่งการดูหมิ่นพระพุทธ เปรตไถนา, อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ, มก. เล่ม 49 บ ท ที 4 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 2 ก ร ร ม ใ ห้ ผล ตามลำดับ DOU 93
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More