ข้อความต้นฉบับในหน้า
องค์อย่างมาก จนเขาหมั่นไส้เลยพูดตัดบทออกไปโดยไม่มีเจตนาว่า “พวกท่านอย่ามาสาธยายให้หนวกหูเรา
เลย เอาละ เป็นอันว่าพระกัสสปะวิเศษจริง แต่เราก็ได้ตั้งใจไว้แล้วว่า ถ้าพระพุทธองค์ไม่สามารถไถนาให้
เราได้ เราจะไม่ไปทำบุญ ไม่ทำการสักการบูชาพระพุทธองค์ แต่ถ้าพระพุทธองค์สามารถมาจับหางไถแล้ว
ไถนาอย่างเราเมื่อไร เราจึงจะไปทำบุญและสักการบูชา” ด้วยวจีกรรมเพียงเล็กน้อยนี้ที่ชาวนานั้นหวังจะ
ประชดประชันคนเหล่านั้นเท่านั้น ทำให้เมื่อเขาเสียชีวิตก็มาดลบันดาลให้เกิดเป็นเปรต ต้องอดอยากและ
ไถนาอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้พักผ่อนเลย
4.4.4 กตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรม
กตัตตากรรมฝ่ายกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายบุญหรือฝ่ายดีที่จะชักนำให้ผู้ที่กระทำกตัตตากรรมนี้ไป
บังเกิดในสุคติภูมิ
กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก
เทพบุตรกบ
ในสมัยพุทธกาล ใกล้รุ่งวันหนึ่ง ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารริมฝั่งสระ
โบกขรณีใกล้เมืองจัมปา พระพุทธองค์ทรงตรวจพิจารณาสัตวโลกแล้ว ทรงเห็นว่าในเย็นวันนั้น ขณะที่
กำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชนทั้งหลาย จะมีกบตัวหนึ่งถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระองค์
ตายแล้วไปบังเกิดในสวรรค์ เมื่อทรงทราบดังนั้นก็ทรงดำเนินพุทธกิจตามปกติ เช่น นำพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย
ออกบิณฑบาต แสดงข้อวัตรปฏิบัติแก่เหล่าภิกษุทั้งปวง เป็นต้น
ในเวลาเย็น เมื่อบริษัท 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันเพื่อจะฟัง
พระธรรมเทศนาตามปกติ พระองค์จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เข้าสู่มณฑปซึ่งตั้งอยู่ริมสระโบกขรณี
ประทับเหนือพุทธอาสน์ เมื่อทรงทราบว่าบริษัททั้งหลายพร้อมที่จะฟังพระธรรมเทศนาแล้ว จึงเปล่ง
พระสุรเสียงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นปาฏิหาริย์ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหม
ในขณะนั้น มีกบตัวหนึ่งกำลังแหวกว่ายขึ้นจากสระโบกขรณี ได้ยินพระสุรเสียงที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงธรรม ทั้งที่ไม่ได้มีความเข้าใจเนื้อความที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเลย แต่รู้สึกซาบซึ้งยินดีในพระ
สุรเสียงที่ได้ยิน จึงกระโดดไปนอนฟังอยู่ด้านท้ายๆ หลับตาฟังพระสุรเสียงแสดงธรรมของพระพุทธองค์
ด้วยความเบิกบาน แต่ขณะที่กำลังฟังพระสุรเสียงอย่างเพลิดเพลินอยู่นั้น มีคนเลี้ยงโคคนหนึ่ง เดินผ่านมา
ในบริเวณนั้น เห็นพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางเหล่าพุทธบริษัท ด้วยพระอาการอันน่าเลื่อมใสยิ่ง
มัณฑกเทวปุตตวิมาน, อรรถกถาขุททกนิกาย วิมานวัตถุ, มก. เล่ม 48 หน้า 419
94 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม