ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพราะทำแล้วก็ไม่รู้สึกว่าผิดศีลผิดธรรม ไม่กลัวบาป คนจะสนใจวัตถุมากกว่าจิตใจ ใช้ชีวิตตามอำเภอใจ
จะไม่เกิดประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้
นักศึกษาคงเคยศึกษาในเรื่องการเกิดศาสนาต่างๆ มาบ้างแล้ว เราจะพบว่า ศาสนาส่วนใหญ่มีหลัก
คำสอนสำคัญที่เป็นประโยชน์ ที่ก่อให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิต ความสงบสุขในสังคม ในที่นี้จะขอยก
ตัวอย่างเฉพาะพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องเหตุและผล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน
การดำเนินชีวิตให้มีความสุขในโลกนี้ โลกหน้า และตลอดไป เมื่อใครปฏิบัติตามย่อมได้รับความสุขทั้งชาติ
นี้ ชาติหน้า และทุกชาติ จนกว่าจะหมดกิเลส แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่างไอน์สไตน์ยังให้การยอมรับ
พระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาที่มีหลักการคล้ายวิทยาศาสตร์ในเรื่องความมีเหตุผล
ส่วนในประเด็นเรื่องคนที่ไม่มีศาสนานี้ ถ้าเราจะกล่าวโดยรวมก็หมายถึง พวกที่ไม่มีความเชื่อ
เรื่องกฎแห่งกรรมด้วย ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิตของบุคคลที่ไม่มีศาสนา
เป็นแก่นสารไว้ใน อปัณณกสูตร เพราะความที่พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ทรง
แบ่งปันความสุขให้กับทุกคนในโลก ไม่ว่าจะมีความเชื่อใด หรือไม่มีความเชื่อเลยก็ตาม ก็จะทรงแนะนำวิธี
การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องให้เสมอ ดังนั้นในหัวข้อนี้ นักศึกษาจะได้รับทราบสาระสำคัญของอปัณณกสูตร
บางส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคคลที่ยังไม่มีศาสนา หรือบุคคลที่ยังไม่มีความเชื่อ
เรื่องกฎแห่งกรรม นักศึกษาจะได้นำความรู้เหล่านี้ไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับบุคคลเหล่านั้นให้เขา
สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขปลอดภัยจากทุกข์โทษภัยในสังสารวัฏ
เนื้อความในพระสูตรที่นำมาเสนอนี้ เป็นเพียงบางส่วนของพระสูตรที่เกี่ยวข้อง และขอยกเพียง
ตัวอย่างเดียว หากต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นสามารถหาอ่านได้จากพระสูตรที่อ้างถึง
ดังกล่าว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถามพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านเมืองศาลาว่า “ศาสดาองค์ใด
องค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของท่านทั้งหลาย ที่เป็นเหตุให้เกิดศรัทธาอย่างมีเหตุผลมีอยู่หรือไม่” พราหมณ์
และคหบดีชาวบ้านศาลากราบทูลว่าไม่มี พระองค์จึงทรงแสดงอปัณณกธรรม โดยทรงยกทิฏฐิต่างๆ ขึ้นมา
อธิบายเปรียบเทียบให้เห็นคุณและโทษอย่างชัดเจน แล้วทรงแนะนำวิธีการปฏิบัติที่ไม่ผิด ซึ่งก็ขอยกตัวอย่าง
พอสังเขปดังนี้
พราหมณ์ 2 พวก มีความเห็นขัดแย้งกัน
พวกที่ 1 มีความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มี การบูชาไม่มี ผลวิบากแห่งกรรม
ที่สัตว์ทำชั่วไม่มี โลกหน้าไม่มี เป็นต้น พวกนี้จักเว้นกุศลธรรม ประพฤติอกุศลธรรมกลายเป็นคนทุศีล
ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ทำตนเป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ ในเรื่องนี้วิญญูชนควร
พิจารณาให้เห็นดังนี้ และพระองค์ทรงแนะนำวิธีคิดที่ถูกต้องให้กับบุคคลที่มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ว่า
อปัณณกสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 20 หน้า 223-253
48 DOU ก ฏ แ ห่ ง ก ร ร ม