กรรมแห่งอโหสิกรรมในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 124
หน้าที่ 124 / 214

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการบรรลุธรรมของพระเถระที่เคยทำกรรมไม่ดีในอดีต และการได้รับอโหสิกรรมจากการเจริญกรรมฐานและเพียรพยายามในพระพุทธศาสนา โดยผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติตามหลักธรรม เมื่อท่านบรรลุฌานและประสบผลสำเร็จ มีการเปลี่ยนแปลงกรรมจากอดีตนั้น และได้กล่าวถึงประเภทของอโหสิกรรม ทั้งอโหสิกรรมฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศลที่ไม่สามารถให้ผลได้เนื่องจากการทำความดีในปัจจุบัน ท่านเป็นอาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะซึ่งคงความสำคัญในพระไตรปิฎกและหลักการการเจริญจิตวิญญาณในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-อโศกกรรมในพระพุทธศาสนา
-การบรรลุธรรม
-วิปัสสนธาน
-การเพียรพยายามในศาสนา
-การเปลี่ยนแปลงกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ถ้อยคำของเขาแล้วจึงเข้าไปหาเขา เห็นหม้อน้ำดื่มที่มีอยู่ประมาณ 10 หม้อ มีน้ำอยู่เต็มหม้อ จึงคิดว่า สัตว์ นี้ชะรอยจะเป็นชีวมานเปรต จึงกล่าวว่า “อุบาสก ถ้าท่านกระหายน้ำ ก็จงดื่มเถิด” แล้วยกหม้อขึ้นรดลงที่ มือของเขา แต่เพราะกรรมของเขา น้ำดื่มที่เขาดื่มแล้ว ก็ระเหยเหมือนน้ำที่ใส่ลงในกระเบื้องร้อน เมื่อเขา ดื่มน้ำในหม้อทั้งหมด ความกระหายก็ไม่หายขาด พระเถระจึงกล่าวกับเขาว่า “ดูก่อนอุบาสก ท่านทำกรรม หยาบช้าเพียงไรไว้ ท่านจึงเกิดเป็นเปรตในปัจจุบันที่เดียว วิบากจักเป็นเช่นไร” เขาฟังคำของพระเถระแล้ว เกิดความสังเวช ไหว้พระเถระ แล้วซื้อเครื่องมือสำหรับดักสัตว์ทิ้ง กลับ ไปที่บ้านตรวจดูบุตรและภรรยา แล้วทำลายหอก ทิ้งประทีป เนื้อ และนกไว้ในป่า กลับไปหาพระเถระ และ ขอบรรพชา พระเถระให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้เขาบวช เมื่อบวชแล้ว ยินดีเรียนพุทธพจน์ วันหนึ่งได้ ฟังเทวทูตสูตร ซึ่งกล่าวถึงการเสวยทุกข์ในนรก จึงเกิดความกลัว ได้ถามธุระในพระศาสนากับพระเถระ เมื่อ พระเถระตอบว่าธุระในพระศาสนามี 2 อย่าง คือ วิปัสสนาธุระ และคันถธุระ ท่านกล่าวว่าคันถะเป็นภาระ ของผู้สามารถ แต่ศรัทธาของท่านอาศัยทุกข์เป็นเหตุ จะขอบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ แล้วขอกรรมฐาน พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่าน เมื่อรับกรรมฐานแล้วกระทำกรรมในวิปัสสนา และบำเพ็ญวัตร โดยกระทำวัตรที่จิตตลบรรพตมหาวิหารวันหนึ่ง ทำที่คเมณฑวาสีมหาวิหารวันหนึ่ง ทำที่โคจรคาม มหาวิหารวันหนึ่ง พอถีนมิทธะครอบงำ จึงทำใบไม้ให้ชุ่มน้ำวางไว้บนศีรษะ นั่งเอาเท้าแช่น้ำ เพราะกลัว วัตรจะเสื่อม วันหนึ่งทำวัตรตลอด 2 ยาม ที่จิตตลบรรพตวิหาร เมื่อเริ่มจะหลับ ในเวลาใกล้รุ่งจึงนั่งวาง ใบไม้สดไว้บนศีรษะ เมื่อสามเณรกำลังท่องบ่นอรุณวติสูตรอยู่ ได้ยินว่า “จงพากเพียร พยายาม บากบั่น ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดกองทัพของมฤตยู เหมือนกุญชรกำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดไม่ประมาทใน พระธรรมวินัยนี้อยู่ จักละชาติสงสาร ทำที่สุดทุกข์ได้” ท่านจึงเกิดปีติขึ้นว่า คำนี้จักเป็นคำที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสโปรดภิกษุผู้ปรารภความเพียรเช่นกับเรา ดังนี้แล้วทำฌานให้บังเกิด กระทำฌานนั้นให้เป็น บาทแล้วดำรงอยู่ในอนาคามิผล พยายามสืบๆ ไป ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา กรรมที่พระมาลกติสสะได้เคยฆ่าสัตว์เอาไว้มากมายในครั้งที่เป็นนายพรานล่าเนื้อนั้นได้กลายเป็น อโหสิกรรมฝ่ายอกุศลกรรม เนื่องจากไม่มีโอกาสที่จะส่งผลได้ เพราะท่านได้เจริญกรรมฐานจนได้ฌาน บรรลุเป็นพระอนาคามี ซึ่งกุศลกรรมนี้เป็นกรรมแรง มีกำลังมาก จึงมีโอกาสในการส่งผลก่อนและทำให้ กรรมที่เคยฆ่าสัตว์เอาไว้มากมายในอดีตไม่มีโอกาสในการส่งผล จึงกลายเป็นอโหสิกรรม 2) อโหสิกรรมฝ่ายกุศลกรรม คือ กุศลกรรมทุกชนิดที่บุคคลกระทำไว้แล้ว เมื่อล่วงเลยเวลาที่ กำหนดให้ผลไว้ โดยไม่มีโอกาสที่จะให้ผลให้แก่บุคคลที่กระทำกุศลกรรมได้ กุศลกรรมนั้นจัดเป็น อโหสิกรรมฝ่ายกุศลกรรม ดังกรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก เรื่องกาฬเทวิลดาบส กาฬเทวิลดาบสผู้ได้ฌานสมาบัติที่ 8 ท่านเป็นอาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาของ 114 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More