ข้อความต้นฉบับในหน้า
ผล การกระทำทั้งหลายไม่ถือว่าเป็นความดีเป็นความชั่วหรือเป็นบุญเป็นบาป เป็นต้น นิตยมิจฉาทิฏฐิกรรมนี้
มี 3 อย่าง คือ
1.1 นัตถิกทิฏฐิ การมีความเห็นผิดว่า การทำดีทำชั่วย่อมไม่มีผล ในสมัยพุทธกาลท่าน
อชิตเกสกัมพลได้ประกาศลัทธินี้ เป็นการปฏิเสธการกระทำของมนุษย์ เพราะการทำความดีความชั่วนี้
ไม่มีผลที่จะทำให้มนุษย์ได้รับสุขหรือทุกข์
1.2 อเหตุกทิฏฐิ การมีความเห็นผิดว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่นี้ไม่ได้อาศัยเหตุใดเลย
ในสมัยพุทธกาลท่านมักขลิโคศาลได้ประกาศลัทธินี้ ซึ่งเป็นการปฏิเสธเหตุที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกัน
เพราะการที่มนุษย์มีความแตกต่างกันนั้น เป็นการเกิดขึ้นมาเอง ไม่ใช่เกิดจากการกระทำที่มนุษย์ทำไว้และ
ไม่ใช่เกิดจากผลแห่งกรรมใดทั้งสิ้น
1.3 อกิริยาทิฏฐิ การมีความเห็นผิดว่า การกระทำต่างๆ ของสัตว์นั้นไม่สำเร็จเป็นบุญเป็นบาป
แต่อย่างใด ในสมัยพุทธกาลท่านปูรณกัสสปะ ได้ประกาศลัทธินี้ ซึ่งเป็นการปฏิเสธการกระทำของมนุษย์ว่า
ไม่เป็นบุญเป็นบาป เพราะบุญและบาปไม่มี
2. อนันตริยกรรม คือ กรรมหนัก ที่มีอำนาจให้ผลในภพชาติต่อไปอย่างแน่นอน ซึ่งไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงได้ มี 5 ประการ คือ
2.1 มาตุฆาต การฆ่ามารดาผู้ให้กำเนิด
2.2 ปิตุฆาต การฆ่าบิดาผู้ให้กำเนิด
2.3 อรหันตฆาต การฆ่าพระอรหันต์
2.4 โลหิตุปบาท การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
2.5 สังฆเภท การทำให้สงฆ์แตกแยกกัน
2.1 มาตุฆาต ดูรายละเอียดที่ปิตุฆาต
2.2 ปิตุฆาต
มาตุฆาต และปิตุฆาต การฆ่ามารดาและบิดา หมายถึงมารดาและบิดาผู้ให้กำเนิดเท่านั้น ไม่ได้
รวมถึงมารดาและบิดาผู้คอยเลี้ยงดูหรือผู้มีพระคุณในภายหลัง ซึ่งไม่ว่าผู้ฆ่าจะทราบหรือไม่ทราบว่าผู้ที่ตน
ฆ่าไปนั้น เป็นมารดาหรือบิดาของตนก็ตาม ก็จัดเป็นอนันตริยกรรมทั้งสิ้น
มาตุฆาตและปิตุฆาตเน้นที่ผู้ฆ่าเป็นหลักถึงแม้จะใช้ให้ผู้อื่นฆ่าแต่ถ้าผู้ตายเป็นมารดาหรือบิดาของตน
ผู้นั้นก็ต้องรับผลอนันตริยกรรม ส่วนผู้ที่รับคำสั่งให้เป็นผู้ฆ่าก็จะได้รับผลกรรมในส่วนที่ฆ่ามนุษย์ ซึ่งไม่ใช่
อนันตริยกรรม แต่ถ้าผู้ตายเป็นมารดาหรือบิดาของผู้ที่ลงมือฆ่า ผู้ฆ่าก็ต้องได้รับผลอนันตริยกรรม ส่วนผู้
78 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม