แนวคิดเกี่ยวกับกรรมและผลของกรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 109
หน้าที่ 109 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์การให้ผลของกรรมในแง่มุมต่างๆ เช่น การเกิดในฐานะร่ำรวยแต่ประสบปัญหาจนในภายหลัง พร้อมยกตัวอย่างจากประวัติศาสตร์ในพระไตรปิฎก เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจว่ากรรมไม่มีวันสูญหาย แต่มีระยะเวลาในการให้ผลที่แตกต่างกัน รวมถึงการศึกษาและวิเคราะห์เรื่องราวในคัมภีร์พระไตรปิฎกที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีกฎแห่งกรรมอย่างละเอียด

หัวข้อประเด็น

-การให้ผลของกรรม
-ประเภทของกรรม
-ประวัติศาสตร์และกรรม
-การศึกษาในพระไตรปิฎก
-การวิเคราะห์กฎแห่งกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. การให้ผลของกรรมเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจได้ง่าย แต่ก็อาจจะเห็นตัวอย่างจากในสังคมได้ เช่น บางคนเกิดมาอยู่ในฐานะร่ำรวย แต่ก็มีเหตุให้ลำบากยากจนในภายหลัง เป็นต้น เพราะกรรม มีกำหนดระยะเวลาในการให้ผลแก่บุคคลที่กระทำกรรมไว้ 2. อกุศลกรรมหรือกุศลกรรมที่บุคคลได้กระทำไว้ไม่ได้สูญหายไปไหน เพียงแต่กรรมนั้นมีระยะ เวลาในการให้ผลที่ชัดเจน เช่น บางประเภทให้ผลรวดเร็วภายในชาตินี้ บางประเภทจะให้ผล ในชาติต่อไปแล้วก็หมดกำลังในการให้ผล และบางประเภทจะคอยติดตามให้ผลในชาติต่อๆ ไปเมื่อมีโอกาสให้ผลอย่างไม่มีวันสิ้นสุด แต่ถ้ากรรมทั้ง 3 ประเภทข้างต้นไม่สามารถให้ผลได้ ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมที่หมดประสิทธิภาพในการให้ผลไปในที่สุด 3. การศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมจากเรื่องราวจริงที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ที่มีปรากฏหลักฐาน อยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้เห็นภาพการให้ผลของกรรมได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเทียบเคียงภาคทฤษฎีกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบาย ความหมาย ลักษณะ และประเภทของทิฏฐธรรม เวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม อปรูปริยายเวทนียกรรม และอโหสิกรรมได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถวิเคราะห์เรื่องราวในพระไตรปิฎกเข้ากับทฤษฎีเรื่อง กฎแห่งกรรมที่ศึกษาผ่านมาได้ บ ท ที่ 5 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 3 ก ร ร ม ใ ห้ ผ ล ต า ม ก า ล เ ว ล า DOU 99
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More