ความหมายของบาปและการล้างบาปในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 138
หน้าที่ 138 / 214

สรุปเนื้อหา

คำว่า 'บาป' มีความหมายหลายประการ ทั้งจากสภาพของจิต เหตุ และผล อาการที่จิตเศร้าหมองเรียกว่าบาปทั้งสิ้น การล้างบาปหมายถึงการกำจัดกิเลส เพื่อให้จิตมีคุณภาพสูงขึ้น มีทั้งกาย วาจา ใจสะอาดบริสุทธิ์ จากพระสูตรในอังคุตตรนิกายยืนยันว่าผู้ล้างบาปคือผู้ที่ไม่มีอาสวะ และเต็มไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสะท้อนถึงการดูแลรักษาจิตให้สะอาดและปราศจากความชั่ว

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของบาป
-ประเภทของบาป
-การล้างบาป
-อิทธิพลของจิต
-คุณธรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คือ บาป มีคำอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น อกุศลกรรม กรรมอันลามก ธรรมดำ บาป แปลว่า ชั่ว เลว เมื่อกล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา อาจแบ่งความหมายได้เป็น 3 ประการ 1. โดยสภาพของจิต ได้แก่ ความเศร้าหมองแห่งจิต 2. โดยเหตุ ได้แก่ การทำความชั่วทุกอย่าง 3. โดยผล ได้แก่ ความทุกข์ คำว่า บาป อาจจะเทียบเคียงกับสิ่งของที่เสีย ที่มีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เช่น บ้านเสียเราเรียกบ้าน ชำรุด อาหารเสียเราเรียกอาหารบูด ฯลฯ คำจำพวกที่ว่า บูด ชำรุด แตกหัก ผุพัง เน่า ขาด ขึ้นรา ฯลฯ ถ้ากล่าวโดยรวม เรียกว่า เสีย หมายความว่า สิ่งที่ไม่ดี ส่วนอาการเสียของจิตก็เหมือนกัน เราเรียกแยก ได้หลายอย่าง เช่น จิตเศร้าหมอง จิตเหลวไหล ใจร้าย ใจดำ ใจขุ่นมัว ฯลฯ แล้วแต่จะบอกอาการทางไหน คำว่า เศร้าหมอง เหลวไหล ต่ำทราม ร้ายกาจ เป็นคำบอกว่าจิตเสีย ซึ่งอาการเสียของจิตนี้ เราเรียกสั้นๆ ว่า “บาป” จากคำแปลและคำความหมายของบาปที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น สามารถสรุปความหมายที่เป็น สาระสำคัญที่เห็นภาพได้ชัดเจนของบาป คือ อาการเสียของจิต อาการที่จิตมัวหมอง คือ การที่ใจมี คุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ไหนก็เรียกว่าบาปทั้งสิ้น หากรวมความหมายของคำว่า ล้างบาป ก็จะหมายถึง การกำจัดกิเลสอาสวะอันเป็นเหตุแห่งการ ทำความชั่วให้หมดสิ้นไป มีผลทำให้คุณภาพใจสูงขึ้น มีกาย วาจา ใจสะอาดบริสุทธิ์ จนกระทั่งหมดกิเลส ซึ่ง ความหมายที่กล่าวสรุปมานี้ มีความหมายเทียบเคียงกับคำว่า ผู้ล้างบาป ที่มีกล่าวไว้ใน ทุติยโสเจยยสูตร ว่า “ภิกษุทั้งหลาย โสไจยะ คือ ความสะอาด 3 อย่าง บุคคลผู้สะอาดทางกาย สะอาดทางวาจา สะอาดทางใจ ไม่มีอาสวะ เป็นคนสะอาดพร้อมด้วยคุณธรรมของคนสะอาด ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ล้างบาปแล้ว” จากพระสูตรนี้สามารถสรุปได้ว่า ผู้ล้างบาป หมายถึง ผู้ที่กำจัดกิเลสให้หมดสิ้นมีความสะอาดบริสุทธิ์ กาย วาจา และใจแล้ว ส่วนความหมายของการล้างบาปจากพระสูตรนี้น่าจะหมายถึง การกำจัดกิเลส- อาสวะหมดสิ้นไป จนกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นความหมายที่ตรงกับคำสรุปดังที่กล่าวมาแล้ว ทุติยโสเจยยสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 หน้า 540 128 DOU ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More