บทที่ 8: กฎแห่งกรรมเชิงสัมพันธ์และสัมมาทิฏฐิ GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 190
หน้าที่ 190 / 214

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายถึงกฎแห่งกรรมในเชิงสัมพันธ์และความสำคัญของสัมมาทิฏฐิในการสร้างกรรมดี โดยชี้ให้เห็นว่าการแบ่งปันและการช่วยเหลือสังคมมีผลตอบแทนที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น การมีสัมมาทิฏฐิช่วยให้มนุษย์ห่างไกลจากทุกข์และสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงย้ำให้เห็นถึงการร่วมทุกข์ร่วมสุขและการไม่เอารัดเอาเปรียบกันในสังคม ปัจจุบันมีการหลีกเลี่ยงการช่วยเหลือกัน พร้อมเรียกร้องให้มีการแบ่งปันและสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์อย่างจริงใจ เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขต่อไป.

หัวข้อประเด็น

- กฎแห่งกรรมและความสำคัญ
- สัมมาทิฏฐิและการแบ่งปัน
- การช่วยเหลือสังคม
- ผลกระทบจากการไม่แบ่งปัน
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการสั่งสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 8 บทสรุปสาระสำคัญกฎแห่งกรรมเชิงสัมพันธ์ 8.1 กฎแห่งกรรมกับหลักสัมมาทิฏฐิ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทีปแห่งโลกและจักรวาล ทรงบังเกิดขึ้นเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่มวล หมู่สรรพสัตว์ เป็นนาถเอกของโลกและจักรวาล เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดไม่มีสิ่งใดเปรียบได้ ตลอดระยะ เวลาตั้งแต่วันแรกที่ปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนถึงวันปรินิพพานนั้น ทรงบำเพ็ญเพียรสั่งสมบุญ สร้างบารมีทำความเห็นของพระองค์ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แสวงหาและมุ่งตรงต่อหนทางสู่พระ นิพพาน ทรงค้นพบเห็นทุกข์ เหตุทำให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ได้แก่ดับตัณหา และทางให้ถึงความดับทุกข์ และทรงรู้ว่าสรรพสัตว์ที่ยังประสบทุกข์อยู่เพราะมีความเห็นไม่ถูกต้องจึงสร้างกรรมชั่วแก่กันและกัน ดัง นั้นจึงทรงปลูกฝังให้มนุษย์มีความเห็นถูกต้องซึ่งเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการสร้างกรรมดีโดยตรง มีอยู่ 10 ประการ ดังนี้1 1. การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากปัจจัยการดำรงชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 อย่าง คือ ที่อยู่ อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในฐานะที่ทุกผู้คนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย จึง ต้องช่วยเหลือกัน ใครมีก็แบ่งปันกันอยู่ แบ่งปันกันกิน แบ่งปันกันใช้ ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่แสดง ความไร้น้ำใจต่อกัน เป็นการฝึกสละความโลภความตระหนี่ ปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่ามีการเอารัดเอาเปรียบกัน กักตุนสินค้าเพื่อค้ากำไรจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่รู้จักการแบ่งปันเพราะมองเป็นผลประโยชน์ผลกำไร นี้จัดเป็นสัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 การให้ทานมีผลดีจริง 2. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกันและกัน เนื่องจากสังคมรอบข้างตัวเรามีบุคคลหลายกลุ่ม จำเป็น ต้องมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน เพราะเราอยู่ในโลกใบนี้เพียงลำพังไม่ได้หรือจะดีเพียงคนเดียวไม่ได้ ต้องเป็นอยู่อย่างทัดเทียมกันจึงจะไม่เกิดปัญหาสังคม เพราะบางคนมีความเดือดร้อนทุกข์ยากลำบากทาง ฐานะเศรษฐกิจความเป็นอยู่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันของผู้ที่ฐานะความเป็นอยู่มั่งคั่งจะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือประคับประคอง เพื่อ ให้เขาเหล่านั้นมีความเป็นอยู่ต่อไปได้ และมีโอกาสที่จะพัฒนาฐานะความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น แต่ บ่อยครั้งที่พบเห็นผู้มีความเป็นลำบากถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่มีโอกาสทางการค้าการสังคม นี้จัดเป็น สัมมาทิฏฐิข้อที่ 2 ยัญที่บูชาแล้วมีผลดี หมายความว่า การสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคมรอบตัวมีผลดีเป็น ทางมาแห่งความดีทั้งตัวเราและผู้อื่น - พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว), เข้าไปอยู่ในใจ, (กรุงเทพฯ : เชอรี่กราฟฟิค (1991), 2546) 180 DOU ก ฏ แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More