การควบคุมใจและสมาธิเพื่อการพัฒนาจิต GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 147
หน้าที่ 147 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการควบคุมใจในการพัฒนาพฤติกรรมที่ดีและการสร้างสมาธิเพื่อติดต่อกับความสว่างภายใน การนั่งสมาธิจัดเป็นทางการที่นำไปสู่การรักษาศีลและพัฒนาปัญญา บทเรียนจากอุปักกิเลสสูตรให้ความรู้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิต่อการเห็นรูปและความสว่าง โดยสรุปแล้ว ความสว่างภายในจะช่วยให้จิตใจสงบและอิสระจากอวิชชา ซึ่งคือเส้นทางสู่ความบริสุทธิ์และการปลดปล่อยทางจิตใจ

หัวข้อประเด็น

- การควบคุมใจ
- ความสำคัญของสมาธิ
- ความสว่างภายใน
- การพัฒนาปัญญา
- ความสัมพันธ์ระหว่างศีลและสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องฝึกควบคุมใจเพราะพฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้น มาจากความตั้งใจเป็นสำคัญ เพราะใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าจิตใจได้รับการพัฒนาให้ดีงามแล้ว ก็จะสามารถควบคุมดูแล และนำพฤติกรรมไปในทางที่ดีงามด้วย หลักการของสมาธิ คือ ความสว่าง สมาธิเป็นเรื่องของความสว่างถ้าความสว่างภายในไม่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถมองเห็นหนทางอริยมรรค อันเริ่มต้นจากดวงปฐมมรรคไปจนถึงพระธรรมกายได้ ถ้าจะเปรียบว่า จะต้องสว่างในระดับไหน สามารถ อุปมาได้ว่า ต้องสว่างเท่ากับพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน แต่ถ้าจะให้สว่างจนสามารถมองเห็นอดีตชาติได้ก็ ต้องอุปมาความสว่างนั้น เหมือนกับนำพระอาทิตย์ หรือพระจันทร์มาเรียงกันเต็มท้องฟ้า เป็นร้อยเท่า พันเท่า อสงไขยเท่า เพราะความสว่างนี้ยิ่งสว่างมาก ก็จะนำไปสู่ปัญญาอันบริสุทธิ์ ดังพุทธพจน์ที่กล่าวถึงความ สว่างจากสมาธิ ที่มีปรากฏใน อุปักกิเลสสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่า “ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใด เรามีสมาธิ นิดหน่อย สมัยนั้น เราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรา นั้นจึงรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย ส่วน สมัยใด เรามีสมาธิหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็มีจักษุหา ประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณมิได้เรานั้นจึงรู้สึกแสง สว่างหาประมาณมิได้ แลเห็นรูปหาประมาณมิได้ ตลอดกลาง คืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้างตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันบ้าง” การนั่งสมาธิ จัดเป็นความดีขั้นกลาง ที่จะเป็นต้นทางนำชีวิตของเราให้อยู่ในกรอบแห่งศีลได้ อย่างบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น เพราะใจจะรักษาความประพฤติทางกาย และวาจาให้เรียบร้อยดีงามได้ดียิ่งขึ้น การ รักษาศีลที่สะอาดบริสุทธิ์เป็นการควบคุมกาย วาจา ซึ่งส่งผลถึงใจให้หยุดนิ่งได้ในระดับหนึ่ง เมื่อได้นั่ง สมาธิมากยิ่งขึ้นก็ยิ่งส่งผลให้ใจหยุด ใจสว่างได้ง่าย ได้ดีขึ้น ศีลและสมาธิมีส่วนในการสนับสนุนซึ่งกันและ กัน การนั่งสมาธิจัดว่าเป็นการล้างบาปในขั้นกลางก็ได้ 3. พัฒนาปัญญาให้รู้แจ้ง คือ ปัญญาเป็นตัวนำทางที่ถูกต้องตามความเป็นจริง และควบคุม พฤติกรรมทั้งหมด เป็นตัวปลดปล่อยจิตให้หลุดพ้นจากความไม่รู้(อวิชชา) จิตใจจะสงบโล่งและเป็นอิสระ ปัญญาพัฒนาต่อจากการทำสมาธิ เมื่อทำสมาธิได้ดีจนเกิดความสว่างในใจ ยิ่งสว่าง ปัญญาก็ยิ่งเพิ่มพูนมาก ความรู้เห็นตามความเป็นจริงก็มากขึ้นตามลำดับ บ ท ที่ 6 ท ร ร ศ น ะ เ รื่ อ ง ก า ร ล า ง บ า ง ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 137
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More