ข้อความต้นฉบับในหน้า
“สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มี
กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้” กรรมดีที่ทำก่อให้เกิดบุญกุศล บุญที่
เกิดจากกุศลกรรมที่ทำ เมื่อสั่งสมบุญกุศลไว้มากก็เพิ่มพูนเป็นบารมี ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้นั้นมีกาย วาจา
ใจบริสุทธิ์ผุดผ่องมากยิ่งขึ้น ส่วนกรรมชั่วก่อเกิดเป็นบาปอกุศล บาปอกุศลที่เกิดจากอกุศลกรรมที่ทำ เมื่อ
สั่งสมบาปอกุศลไว้มาก ก็เพิ่มพูนจนเป็นอาสวะเครื่องหมักดองกิเลส
ดังนั้น สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาวิกฤตทางพฤติกรรมของมนุษย์ ปัญหาวิกฤตทางสังคม และ
ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ หากย้อนกลับมาพิจารณาดูว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน เมื่อศึกษาจึงทราบว่า ต้นเหตุ
ปัญหาทั้งปวงเกิดจากมนุษย์ที่ขาดความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของ
ชีวิตตามความเป็นจริงซึ่งส่งผลร้ายแรงทำให้ผู้คนมีพฤติกรรมไร้ศีลธรรม
ทั้งที่สัตวโลกทั้งปวงเปรียบเหมือน
เพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน คือ ร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สัตวโลกจึงไม่ใช่ศัตรูของกันและกัน กิเลส
เท่านั้นคือศัตรูแท้จริงที่จะต้องรีบกำจัดให้หมดสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษา
ทำความเข้าใจเรื่องกรรมให้ชัดเจน ปัจจุบันคำว่า กรรม วิบาก เจ้ากรรมนายเวร เป็นคำที่ใช้กันจนคุ้นปาก
แต่มักจะใช้แสดงออกมาในแง่ลบเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะคำว่า เจ้ากรรมนายเวร ในพระพุทธศาสนาไม่มี
คำนี้ มีแต่คำว่า เวร การผูกเวรจองล้างจองผลาญกันและกันเท่านั้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของกรรมของเรา
นอกเสียจากตัวเราเองที่เป็นเจ้าของกรรมของตน
1.2.5 เกณฑ์ตัดสินกรรมดีและกรรมชั่ว
ดังที่ทราบ เจตนาคือกรรม กรรมที่เกิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย
ใหญ่ๆ คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรม เมื่อจะตัดสินหากฎเกณฑ์ตรวจสอบว่ากรรมที่ทำนั้นเป็นกรรมฝ่ายใด
ให้ดูที่ผลหลังจากที่ทำ ซึ่งมีเกณฑ์ตัดสินดังนี้
1) พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำ ดังพระพุทธดำรัสที่ว่า “บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือด
ร้อนในภายหลัง มีจิตแช่มชื่นเบิกบาน ได้รับผลแห่งกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมดี ส่วนบุคคล
ทำกรรมใดแล้ว เดือดร้อนในภายหลัง มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้อยู่ ได้รับผลแห่งกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้น
เป็นกรรมไม่ดี”2
2) พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำ ดังพระพุทธดำรัสที่ว่า “กรรมใดที่บุคคลทำด้วย อโลภะ
อโทสะ อโมหะ กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข ส่วนกรรมใดที่บุคคลทำด้วย โลภะ
โทสะ โมหะ กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์”
จูฬกัมมวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 581 หน้า 251
เขมสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 281 หน้า 367
* ปฐมนิทานสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 551 หน้า 520
บ ท ที
1
ค ว า ม
ามรู้เบื้อ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 21