ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. อทินนาทานการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ตลอดจนการคอรัปชั่น
ปลอมแปลงเอกสาร ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
3. กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในกาม
ทั้ง 3 ข้อนี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเกิดขึ้นทางกายทวารโดยมาก
4. มุสาวาท การพูดเท็จ
5. ปิสุณาวาจา การพูดส่อเสียด ทำให้คนแตกกัน
6. ผรุสวาจา การพูดคำหยาบ
7. สัมผัปปลาปะ การพูดเพ้อเจ้อ นินทา
ทั้ง 4 ข้อนี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเกิดขึ้นทางวจีทวารโดยมาก
8. อภิชฌา การโลภเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. พยาบาท การคิดปองร้ายเบียดเบียนพยาบาทจองเวรผู้อื่น
10. มิจฉาทิฏฐิ การเห็นผิดจากคลองธรรม คือ มีความเห็นผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลกและ
ชีวิต
ทั้ง 3 ข้อนี้ จัดเป็นมโนกรรม เพราะเกิดขึ้นทางมโนทวารโดยมาก
ปาณาติบาต (การฆ่า)
คำว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติบาต โดยสมมติสัจจะ ได้แก่ สัตว์ โดยปรมัตถสัจจะ ได้แก่ ชีวิติน
ทรีย์ 2 อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในการทำให้รูปมีชีวิตอยู่ได้ และอรูปชีวิตินทรีย์
ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในการทำให้นามธรรม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มีชีวิตอยู่ได้ ชีวิ
ตินทรีย์ทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เมื่ออย่างหนึ่งถูกทำลาย อีกอย่างหนึ่งก็ถูกทำลายไปด้วย
เจตนาฆ่าของบุคคลผู้รู้อยู่ว่า สัตว์นั้นมีชีวิตอันเป็นไปทางกายหรือทางวาจา เป็นเหตุให้เกิดความ
พยายามในการเข้าไปตัดอินทรีย์ คือ ชีวิตทั้ง 2 นั้น ชื่อว่า ปาณาติบาต
กรณีศึกษาในเรื่องของกรรมปาณาติบาต
กรณีศึกษาที่ 1 (วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547) ชายคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์คว่ำ
จึงถูกนำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ในขณะอายุได้ประมาณ 21 ปี
กถาว่าด้วยวินัย มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 2. (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2532), หน้า 94
บ า ที่ 7 ก ร ณี ศึ ก ษ า เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม
DOU 147