แผนผังไตรวัฏฏ์ของผู้มีความเห็นถูก GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 21
หน้าที่ 21 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงแผนผังไตรวัฏฏ์ ซึ่งแบ่งความเป็นอยู่ของสรรพสัตว์ตามกรรม โดยมีการเน้นถึงทุคติภูมิที่เป็นสถานที่สำหรับผู้ที่กระทำความชั่วและมีความเห็นผิดในเรื่องกรรมผ่านการบรรยายความรู้เบื้องต้นในพระพุทธศาสนา และความยากในการกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง รวมถึงการอุปมาที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนถึงเหตุแห่งการเกิดในทุคติภูมิ.

หัวข้อประเด็น

-ไตรวัฏฏ์
-กุศลธรรม
-กรรม
-ทุคติภูมิ
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แผนผังไตรวัฏฏ์ของผู้มีความเห็นถูก 1 กุศลธรรม กุศลวิบาก 2 กุศลกรรม 2. ทุคติภูมิ คือ สถานที่อยู่ของผู้ที่กระทำความชั่ว มีความเป็นอยู่ทุกข์ยากทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กล่าวคือ ผู้ที่จะมาบังเกิดในภพภูมินี้จะต้องเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล คือ มีความเห็นผิดในเรื่องกฎแห่งกรรม มี จิตใจตกต่ำเป็นอกุศลธรรม จึงชักนำให้ประกอบอกุศลกรรม 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อละโลก ด้วยอานิสงส์ผลบาปที่ประกอบไว้ขณะมีชีวิต จึงได้มาบังเกิดอยู่ในทุคติภูมิ คือ อบายภูมิ 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นภพภูมิที่เสวยวิบากกรรมชั่วล้วนๆ นับว่าเป็น สัตว์อาภัพประเภทหนึ่ง ไม่สามารถบรรลุคุณธรรมความดีทั้งเบื้องต้นและเบื้องสูงได้ ไม่สามารถเห็นแจ้งใน อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ พระพุทธองค์ตรัสว่า สัตว์เหล่านี้เมื่อไปบังเกิดในอบายภูมิแล้วยากที่จะกลับมาเป็นมนุษย์ ทรง อุปมาว่า ทุกร้อยปีๆ เต่าตาบอดตัวหนึ่งจะโผล่หัวสวมเข้าพอดีกับบ่วงขนาดเท่าหัวของตนที่ลอยอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งในมหาสมุทร * สามัญญผลสูตร, ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 ข้อ 137 หน้า 332 ปฐมฉิคคฬสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 1743 หน้า 475 บ ท ที่ 1 ค ว า ม รู้เบื้ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก ก แ ห่ ง ก ร ร ม | อง DOU 11
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More