การยกย่องบูชาบุคคลที่มีคุณงามความดี GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 191
หน้าที่ 191 / 214

สรุปเนื้อหา

การยกย่องบุคคลที่มีคุณงามความดีคือการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่มีอุปการะคุณ เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ และบุคคลอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างค่านิยมที่ดีในสังคม เด็กยุคใหม่ควรเรียนรู้และเคารพผู้ที่มีส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูและอบรม ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับกรรมดีและกรรมชั่ว สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคม มวลมนุษยชาติจำเป็นต้องมีความรักและความสามัคคีเพื่อความสงบสุข โดยทุกการกระทำล้วนมีผลตามกระบวนการแห่งกรรม คำนึงถึงผลที่ตามมาจากการกระทำ และเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงในโลก.

หัวข้อประเด็น

-การยกย่องบูชาบุคคล
-คุณงามความดี
-กรรมดีกรรมชั่ว
-ค่านิยมในสังคม
-สัมมาทิฏฐิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. การยกย่องบูชาบุคคลที่มีคุณงามความดี บุคคลที่ควรแก่การยกย่องบูชาเพราะมีอุปการะคุณ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเรา ได้แก่ บรรพบุรุษ บิดามารดา ครูอาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที เคารพยกย่องนับถือ เทิดทูน จับดีไม่จับผิดผู้อื่น ไม่คิดอิจฉาริษยา ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ซึ่งเป็นการปลูกฝังแบบปฏิบัติค่านิยมที่ดีงามแก่สังคม เด็กยุคใหม่เห็นก็จะถือปฏิบัติตาม แต่ค่านิยมของสังคมในปัจจุบันกำลังจะผิดไป หันไปเคารพนับถือความ ไม่ดีประการต่างๆ แต่กลับลืมบุคคลใกล้ตัวที่อุปการะเลี้ยงดูสั่งสอนอบรมบ่มนิสัยเรามา ดังที่เห็นประจำ คือการทอดทิ้งบุพการีให้คนอื่นดูแล ปัดภาระไปให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหลานดูแล หรือผู้ใต้บังคับบัญชาคิด แย่งตำแหน่งหัวหน้า ศิษย์ไม่เคารพครูอาจารย์ เป็นต้น สังคมแบบนี้จะเต็มไปด้วยความแก่งแย่งชิงเด่น กลัวคนอื่นจะเหนือกว่า ไร้ความสงบสุขแตกแยกไม่สามัคคีกัน ด้วยประการทั้งปวงนี้เองที่ทำให้คนไม่ เคารพยกย่องกันไม่คำนึงถึงว่าต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา อยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา เราก็ทำแบบนั้นกับเขา นี้จัดเป็นสัมมาทิฏฐิข้อที่ 3 การบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้คนถือธรรม เป็นใหญ่จะได้เกิดกำลังใจในการทำความดี มวลมนุษยชาติรู้รักสมานสามัคคีปรองดองเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพงศ์วงตระกูล 4. กรรมดีกรรมชั่วที่ทำไปแล้วมีผล ข้อปฏิบัติที่กล่าวข้างต้น เป็นการทำกรรมดี จึงได้ผลดีตาม ไปด้วย คือด้วยคุณงามความดีจึงได้รับการยกย่องส่งเสริมสนับสนุน เป็นที่เคารพนับถือเกรงใจต่อผู้อื่น เพราะหลักกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เป็นกฎที่เที่ยงธรรมที่สุดไม่ต้องตีความ ดังนั้นก่อน คิดทำสิ่งใดเราควรมีความรู้ในการตัดสินความดีความชั่ว ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มุ่งทำกรรมดีเป็นอาจิณก็สะท้อนให้ เห็นว่าเขามีความเห็นถูกในเรื่องกฎแห่งกรรม ในทางกลับกันผู้ที่มุ่งทำกรรมชั่ว หรือทำกรรมดีผสมกรรม ชั่วก็ตาม ก็สะท้อนให้เห็นว่าเขามีความเชื่อในเรื่องผลของการกระทำน้อยมากไปจนถึงไม่คิดว่ามีจริง เป็น เพียงกุศโลบายของผู้ใหญ่ นี้จัดเป็นสัมมาทิฏฐิข้อที่ 4 วิบากแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีผลจริง คือไม่จำกัด สถานที่ เวลา ของการให้ผลของกรรม เพราะเป็นกฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ กฎแห่งเหตุและผล รองรับกัน กฎแห่งกรรมนี้เหมือนการตอกตะปูลงบนไม้ แม้ถอนตะปูออกก็ยังเหลือร่องรอย หมายความว่า สิ่งที่ผิดพลาดเมื่อกระทำไปแล้วถึงแม้จะตั้งใจทำความดี สิ่งที่ผิดพลาดก็ยังคงอยู่ไม่สามารถทำความดี ลบล้างความชั่วที่เคยทำมาได้ ดีส่วนดี ชั่วส่วนชั่ว เหมือนน้ำผสมกับเกลือ น้ำมากเกลือก็ไม่เค็ม แต่เมื่อใด เกลือมากกว่าน้ำน้ำก็เค็ม 5. โลกนี้ โลก คือ สังขารร่างกายจิตใจ คือหมู่สัตว์ ได้แก่ หมู่มนุษย์ หมู่เทวดา หมู่สัตว์นรก คือ สถานที่อยู่อาศัย จากการศึกษากฎแห่งกรรมมาแล้ว จะทราบว่าความเป็นไปของหมู่สัตว์ทั้งปวงล้วนมา จากรากฐานคือกรรมที่เกิดจากการกระทำของตนที่คอยชักนำและบังคับให้เป็นไปตามกรรม จึงเลือกไม่ได้ ว่าจะให้ได้อย่างนั้นอย่างนี้ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีที่มาไม่ใช่เกิดขึ้นลอยๆ หรือหาเหตุผลรับรองไม่ได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องเข้าใจโลกนี้ให้ถูกต้องว่า โลกนี้มีที่มา คือ มีที่มาจากกรรมและผลของกรรม โลกนี้มี ความไม่แน่นอนของสุขภาพร่างกาย ฐานะความเป็นอยู่ คือ มีความเปลี่ยนแปลง ไม่มั่นคง ไม่คงที่ วันนี้มี บ ท ที่ 8 บ ท ส รุ ป ส า ร ะ สำ คั ญ กฎแห่งกรรมเชิงสัมพันธ์ DOU 181
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More