ข้อความต้นฉบับในหน้า
จะคิดเรื่องกฎแห่งกรรมนี้ว่า “วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็น
บ้า ได้รับความลำบากเปล่า”
1.2.3 คำนิยาม ถูก ผิด, ดี ชั่ว, บุญ บาป, คุณ โทษ, ควร ไม่ควร
การศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม ก็เพื่อให้เข้าใจและสามารถดำเนินชีวิตโดยไม่ผิดพลาดทั้งทางโลกและ
ทางธรรม เพราะในแต่ละวันมนุษย์มีเรื่องให้ต้องตัดสินใจ เมื่อต้องประสบกับปัญหาเราจะต้องตัดสินใจได้
เด็ดขาด ถ้าตัดสินใจไม่ได้ ก็จะทำงานต่อไปไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เรามักถูก
บังคับให้ต้องตัดสินใจทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ การคิดแยกแยะเหตุผล
มีความจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจศัพท์ทางพระพุทธศาสนาอยู่หลายคำที่เกี่ยวข้องอย่างขาดเสียมิได้
เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องกฎแห่งกรรมแล้วจะต้องโยงไปถึงคำเหล่านี้ทุกครั้ง ได้แก่
1) ถูก หรือชอบ คือ ทำถูก หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจมาก่อน แต่
ว่าเมื่อทำลงไปแล้วเกิดแต่ประโยชน์ ไม่เกิดความเสียหาย ไม่เกิดโทษ ไม่ก่อให้เกิดความ
เดือดเนื้อร้อนใจใดๆ ติดตามมาในภายหลังทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2) ผิด คือ ทำผิด หมายถึง การกระทำด้วยความประมาทพลาดพลั้ง ทำให้เกิดความเสียหาย
เป็นโทษ เป็นความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หย่อนปัญญา
3) ดี คือ ทำดี หมายถึง นอกจากจะทำถูกแล้วจะต้องทำดีด้วย หมายความว่า การกระทำที่รู้อยู่
เต็มอกก่อนจะทำแล้วว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วตั้งใจทำด้วยความระมัดระวัง เอาใจจดจ่อ
ทำด้วยความมั่นใจ ผลที่ได้รับก็คือ ยิ่งทำยิ่งสุขกายสุขใจ เป็นทางมาแห่งบุญ
4) ชั่ว คือ ทำชั่ว หมายถึง รู้ทั้งรู้ว่าผิดแล้วยังฝืนทำ รู้ด้วยว่าทำไปแล้วจะเกิดความเสียหาย ความ
เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ผลที่ได้รับก็คือ ยิ่งทำยิ่งทุกข์ ยิ่งทำยิ่งเดือดร้อน เป็นทางมา
แห่งบาปอกุศล
5) บุญ ว่าโดยเหตุ หมายถึง ความผ่องแผ้ว ความบริสุทธิ์ ความดีงาม สิ่งที่เป็นเครื่องชำระล้าง
กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากมลทิน ว่าโดยผล บุญ หมายถึง ความสุขกายสุขใจ ดังพุทธภาษิต
ที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธออย่ากลัวบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข” บุญเกิดเมื่อประพฤติ
กุศลกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ หรือที่เรียกว่า บุญกุศล บุญกรรมเป็นอาการที่เกิดขึ้น
กับผู้ที่มีใจสูงส่ง
อจินติตสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 77 หน้า 235
ปุญญวิปากสูตร, อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 59 หน้า 192
บ ท ที่ 1
ค ว า ม
ามรู้เบื้อ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 15