กรรมและการกระทำในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 30
หน้าที่ 30 / 214

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงประเภทของการพูดที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น สัมผัสปลาปาการที่ชอบพูดเพ้อเจ้อ และการกระทำทางใจในพระพุทธศาสนา โดยมโนกรรมมีสามประการ เช่น อภิชฌา, พยาบาท, และมิจฉาทิฏฐิ นอกจากนี้ยังมีตารางที่แสดงกุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถตามหมวดหมู่ของการกระทำในกาย, วจี และมโนกรรม โดยย้ำถึงกฎแห่งกรรมว่า กรรมที่ตัดสินใจทำในชีวิตย่อมให้ผลที่แน่นอนในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-กรรมและการกระทำ
-ประเภทของกรรม
-มโนกรรมและความคิด
-กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. สัมผัปปลาปาการจงใจพูดเพ้อเจ้อ คือ ชอบพูดไม่ถูกเวลา ชอบพูดหยอกล้อ ชอบพูดไร้ประโยชน์ ชอบพูดไม่เป็นธรรม ชอบพูดไม่เป็นวินัย เป็นผู้พูดไม่มีหลักฐาน ไม่เป็นเวลา ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มโนกรรม หรือมโนทวาร หมายถึง การกระทำทางใจ เมื่อการกระทำทางใจชั่วจึงเรียกว่า มโน ทุจริต มี 3 ประการ คือ 1. อภิชฌา คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น 2. พยาบาท คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น 3. มิจฉาทิฏฐิ คิดผิดเห็นผิด ตารางแสดงกุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถจัดตามฐานที่เกิด ฐานที่เกิดกรรม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กุศลกรรมบถ 1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่ยังมีชีวิต 2. งดเว้นจากการลักขโมยของผู้อื่น 3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 1. งดเว้นจากการพูดเท็จ 2. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด 3. งดเว้นจากการพูดคำหยาบคาย 4. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 1. ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น 2. ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น 3. คิดถูกเห็นถูก อกุศลกรรมบถ 1. การจงใจทําลายชีวิต 2. การจงใจลักขโมยของผู้อื่น 3. การจงใจประพฤติผิดในกาม 1. การจงใจพูดเท็จ 2. การจงใจพูดส่อเสียด 3. การจงใจพูดคำหยาบคาย 4. การจงใจพูดเพ้อเจ้อ 1. คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น 2. คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น 3. คิดผิดเห็นผิด พระพุทธศาสนาใช้คำเรียก กฎแห่งกรรม ว่า กรรมนิยาม คือ ความแน่นอนของกรรม หมายความ ว่า กรรมที่เกิดจากการตัดสินใจทำลงไปแล้วย่อมให้ผล การเกิดผลของกรรมทั้งดีและชั่ว เรียกว่าวิบาก ซึ่ง มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว ท่านจึงเรียกกฎเกณฑ์แห่งวิบากกรรมว่า กฎแห่งกรรม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า 20 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More