การเกิดใหม่และกรรมในพระพุทธศาสนา GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 35
หน้าที่ 35 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเกิดใหม่ของมนุษย์จากการเป็นเทวดา รวมถึงการส่งต่อคำสอนเกี่ยวกับกรรมจากพระพุทธองค์จนถึงปัจจุบัน โดยการจำแนกกรรมออกเป็น 12 ประเภท ได้แก่ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม, อุปปัชชเวทนียกรรม และอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตในแต่ละชาติ นับตั้งแต่วันปรินิพพานโดยมีพระภิกษุและคณาจารย์ร่วมศึกษาต่อเนื่องเพื่อเผยแผ่ความรู้ การอธิบายกรรมนั้นจะช่วยให้ผู้คนเข้าใจผลของกรรมดีและกรรมชั่วในชีวิตของพวกเขาและการเปลี่ยนแปลงในโลกหน้าได้ดียิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-การเกิดใหม่
-กรรมและผลกรรม
-ศึกษาพระพุทธธรรม
-อรรถกถาจารย์
-พระพุทธโฆษาจารย์
-การสืบทอดคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เทวดามาเกิดเป็นมนุษย์ อัตภาพมนุษย์คืออัตภาพใหม่ต่อจากอัตภาพเทวดา และเมื่อละจากอัตภาพมนุษย์ นี้แล้วอาจจะไปบังเกิดในกำเนิดอะไรได้อีกต่างๆ นานา ขึ้นอยู่กับลำดับผลกรรมจะเป็นกระแสนำไปเกิด ยุคหลังพุทธกาล นับจากวันปรินิพพานจนถึงปัจจุบัน ในช่วงที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนมชีพทรง สั่งสอนมนุษย์และเทวดาให้หลุดพ้นเป็นจำนวนมาก เมื่อปรินิพพานแล้วยังหลงเหลือผู้สืบทอดพระธรรม คำสั่งสอนสืบต่อมา บางท่านมีความรู้แตกฉานในปริยัติธรรม และเกิดร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ แต่บางท่าน เกิดภายหลัง กระนั้นก็ตามก็ได้อธิบายพุทธพจน์ให้กับคนรุ่นหลังได้รับฟังศึกษาอย่างเข้าใจ พระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นศาสนทายาทและเหล่าคณาจารย์หลายกลุ่มหลายท่านได้ช่วยกันเผยแผ่คำสอนอรรถาธิบาย พุทธพจน์อย่างระมัดระวัง ในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมนี้ สืบทอดมาจนปัจจุบันโดยท่านได้จำแนก กรรมออกเป็น 12 อย่าง ดังนี้ 1) ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมให้ผลในปัจจุบันชาติ หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วให้ผลใน ปัจจุบันชาติ 2) อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมให้ผลในชาติหน้า หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วให้ผลในชาติหน้า 3) อปรปริยายเวทนียกรรม คือ กรรมให้ผลในชาติต่อๆ ไป หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วให้ผลใน ชาติต่อๆ ไป 4) อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล หมายถึง กรรมดี กรรมชั่วไม่มีโอกาสให้ผล กรรมชนิดนี้จะ กล่าวคู่กับการให้ผลของกรรมข้อที่ 1, 2, 3 จึงจัดเป็นกรรมอีกอย่างหนึ่ง 5) ครุกกรรม คือ กรรมหนัก หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำหนักมาก 6) พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำบ่อยจนเสพคุ้น 7) ยทาสันนกรรม คือ กรรมใกล้ตาย หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำให้ระลึกถึงตอนใกล้ตาย 8) กฏตตาวาปนกรรม คือ กรรมสักแต่ว่าทำ หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำไปโดยไม่รู้ไม่เจตนา 9) ชนกกรรม คือ กรรมนำไปเกิด กล่าวคือ กรรมดีหรือกรรมชั่วนำไปเกิด 10) อุปัตถัมภกกรรม คือ กรรมสนับสนุน หมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วสนับสนุน 11) อุปปีฬกกรรม คือ กรรมบีบคั้น กล่าวคือ กรรมดีหรือกรรมชั่วบีบคั้น 12) อุปฆาตกกรรม คือ กรรมตัดรอน กล่าวคือ กรรมดีหรือกรรมชั่วตัดรอน ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 10 อรรถกถาจารย์คนสำคัญของยุค คือ พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุ ชาวแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ด้วยความที่ท่านเป็นบัณฑิตนักปราชญ์มีความรู้แตกฉานในปริยัติธรรม 1 ชื่ออรรถกถาที่กล่าวถึงกรรม 12 ได้แก่ 1) อรรถกถานิทานสูตร, มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต 2) สัทธัมมปกาสินี, อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เป็นต้น บ ท ที่ 1 ค ว า ม รู้เบื้ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 25
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More