ข้อความต้นฉบับในหน้า
จะตาย อาจิณณกรรม ได้แก่ กรรมที่กระทำเป็นประจำสม่ำเสมอ กตัตตากรรม ได้แก่ กรรมที่สักแต่ว่า
กระทำโดยไม่มีเจตนา ซึ่งกรรมทั้ง 4 ประเภทนี้จะให้ผลตามลำดับอย่างไร นักศึกษาจะได้ศึกษาในบทเรียน
นี้ต่อไป
4.1 ครุกรรม
4.1.1 ความหมายของครุกรรม
ครุกรรม หมายถึง กรรมที่กำลังแรงมากหรือกรรมที่หนักมาก สามารถที่จะให้ผลแก่ผู้เป็น
เจ้าของกรรมเป็นลำดับแรก โดยกรรมอื่นๆ ไม่มีอำนาจที่จะสามารถขวางกั้นการให้ผลแห่งครุกรรมได้
4.1.2 ลักษณะของครุกรรม
ครุกรรมนี้เป็นกรรมหนักที่สุด เป็นกรรมที่มีกำลังแรงที่สุดและจะให้ผลเป็นลำดับแรก ซึ่งไม่มี
กรรมใดที่จะสามารถให้ผลได้ก่อน เพราะมีกำลังในการให้ผลน้อยกว่าครุกรรม โดยอาจจะเปรียบครุกรรม
เหมือนก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอย
ขึ้นเหนือน้ำได้ แต่จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว ครุกรรมก็เช่นกันต้องให้ผลก่อนกรรมอื่น เว้นไว้แต่จะเป็น
ครุกรรมด้วยกัน ซึ่งถ้าครุกรรมใดมีกำลังแรงกว่า ครุกรรมนั้นก็จะมีอำนาจในการให้ผลมากกว่า ส่วนครุกรรม
ที่มีกำลังอ่อนกว่าก็จะทำหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมครุกรรมที่มีกำลังแรงนั้น แม้ว่าจะเป็นครุกรรมที่ทำหน้าที่
สนับสนุนส่งเสริมครุกรรมที่มีกำลังมากกว่า แต่ถ้าไม่มีครุกรรมที่มีกำลังแรงกว่ามาให้ผล ครุกรรมนั้นก็จะ
ทำหน้าที่ให้ผลแก่ผู้กระทำครุกรรม
ครุกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ครุกรรมฝ่ายอกุศลกรรมและครุกรรมฝ่ายกุศลกรรม
ครุกรรมฝ่ายอกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายชั่วหรือฝ่ายบาป ซึ่งจะให้ผลในภพชาติต่อไปอย่างแน่นอน โดย
ครุกรรมนั้นจะชักนำให้ผู้ที่ทำครุกรรมไว้ไปบังเกิดในทุคติภูมิ ส่วนครุกรรมฝ่ายกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายดี
หรือฝ่ายบุญ ซึ่งก็จะให้ผลในภพชาติต่อไปเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ครุกรรมนั้นจะชักนำให้ไปเกิดในสุคติภูมิ
โดยที่ไม่มีกรรมใดจะมาขัดขวางได้
4.1.3 ครุกรรมฝ่ายอกุศลกรรม
ครุกรรมฝ่ายอกุศลกรรม มี 2 ชนิด ได้แก่
1. นิตยมิจฉาทิฏฐิกรรม คือ การที่มีความเห็นผิดอย่างแรงกล้า เช่น มีความเห็นผิดว่ากรรมไม่มี
บ ท ที่ 4 ก ร ร ม ห ม ว ด ที่ 2 ก ร ร ม ใ ห้ ผล ตามลำดับ DOU 77