ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.3.2 ลักษณะของอาจิณณกรรม
อาจิณณกรรมนี้ให้ผลเป็นลำดับที่ 3 ถัดจากครุกรรม และอาสันนกรรม โดยเมื่อทั้งครุกรรมและ
อาสันนกรรมให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว อาจิณณกรรมจึงจะให้ผล ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าอาจิณณกรรมฝ่ายใดมีกำลัง
แรงกว่า อาจิณณกรรมฝ่ายนั้นก็จะให้ผลก่อน เช่น ถ้าอาจิณณกรรมฝ่ายกุศลกรรมมีกำลังแรงกว่าก็จะให้
ผลก่อนอาจิณณกรรมฝ่ายอกุศลกรรม เป็นต้น ซึ่งอาจเปรียบอาจิณณกรรมเหมือนนักมวยปล้ำสองคนที่ลง
สนามต่อสู้กัน คนใดมีกำลังมากกว่าก็ปล้ำเอาอีกคนหนึ่งล้มลงได้ อาจิณณกรรมก็เช่นกัน ถ้าอาจิณณกรรม
ฝ่ายใดที่ทำไว้นานๆ บ่อยๆ จนคุ้น อาจิณณกรรมฝ่ายนั้นก็จะมีกำลังมากกว่า โดยจะส่งผลก่อนและหักห้าม
อาจิณณกรรมที่มีกำลังน้อยกว่าไม่ให้ส่งผล
การกระทำในทางดีก็จะเป็นอาจิณณกรรมฝ่ายกุศลกรรม เช่น คนมีปกติชอบทำทาน ใส่บาตร
พระอยู่เป็นประจำทุกเช้า หรือตั้งใจรักษาศีลทุกวันเป็นอย่างดี เป็นต้น อาจิณณกรรมฝ่ายกุศลกรรมนี้ก็จะ
มีกำลังมากที่จะให้ผลเกิดความสุขความเจริญยิ่งขึ้น หรือหากเป็นการกระทำที่ไม่ดีก็จะเป็นอาจิณณกรรม
ฝ่ายอกุศลกรรม เช่น ชอบยิงนกตกปลาเป็นประจำ ลักขโมยเป็นประจำ หรือฆ่าหมูฆ่าวัวขายเป็นอาชีพ เป็นต้น
อาจิณณกรรมฝ่ายอกุศลกรรมนี้ก็จะมีกำลังมากที่จะให้ผลเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างมาก
กุศลกรรม
อาจิณณกรรมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อาจิณณกรรมฝ่ายอกุศลกรรมและอาจิณณกรรมฝ่าย
4.3.3 อาจิณณกรรมฝ่ายอกุศลกรรม
อาจิณณกรรมฝ่ายอกุศลกรรม คือ กรรมฝ่ายชั่วหรือกรรมฝ่ายบาป เมื่อผู้ใดทำอาจิณณกรรม
ฝ่ายอกุศลกรรมนี้ก็จะชักนำให้ผู้กระทำไปเกิดในทุคติภูมิได้รับทุกข์โทษเป็นเวลายาวนาน
กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก
คนฆ่าหมู
ในสมัยพุทธกาล มีชายคนหนึ่งชื่อว่า จุนทะ มีอาชีพฆ่าสุกรขาย ตลอดชีวิต เขาได้ฆ่าสุกรตาย
เป็นจำนวนมาก ยิ่งขายเนื้อสุกรได้มากเท่าใดเขาก็จะฆ่าสุกรมากขึ้นเท่านั้น และถ้าหากในปีใดที่เกิดภัย
แล้งข้าวยากหมากแพง อาชีพฆ่าสุกรของเขาก็ยิ่งประสบความเจริญรุ่งเรืองทำกำไรได้มาก โดยเขาจะ
ออกกว้านซื้อข้าวมากักตุนไว้ แล้วนำข้าวบรรทุกเกวียนไปแลกกับลูกสุกรของชาวบ้านในชนบท โดยแลก
ลูกสุกรด้วยข้าว 1 ทะนานบ้าง 2 ทะนานบ้าง
เรื่องนายจุนทกริก, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 170
90 DOU ก ฏ แ ห่ ง ก ร ร ม