แนวคิดเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 13
หน้าที่ 13 / 214

สรุปเนื้อหา

แนวคิดเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาอธิบายว่ากรรมคือการกระทำที่มีเจตนา แบ่งเป็นกรรมดีและกรรมชั่ว โดยกรรมดีนำสุขและกรรมชั่วนำทุกข์ การศึกษาเรื่องกรรมช่วยให้เข้าใจชีวิตและทำให้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต วัตถุประสงค์ในการเรียนคือรับรู้กรรมดีกรรมชั่วและผลของการกระทำ เช่นเดียวกับเข้าใจแนวคิดของลัทธิความเชื่อต่างๆ ที่อาจทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับกรรม

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-กรรมดี
-กรรมชั่ว
-การดำเนินชีวิต
-ผลของกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำและการให้ผลของกรรม กรรมคือการกระทำที่ประกอบ ด้วยความจงใจ หรือเจตนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กรรมดี กรรมที่ทำแล้วนำสุขมาให้ และกรรมชั่ว กรรมที่ทำแล้วนำทุกข์มาให้ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลรองรับกันอย่างนี้จึงเรียกว่า กฎแห่งกรรม 2. ทุกยุคสมัยนักคิดนักวิจารณ์เจ้าลัทธิหลายๆ ท่าน กล่าวสอนและตีความเรื่องโลก จักรวาล และชีวิตกันไปอย่างหลากหลายไม่ลงรอยกัน เพราะใช้การคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ แต่ว่าพระพุทธศาสนามุ่งเน้นให้ปฏิบัติขัดเกลาอบรมฝึกฝนกาย วาจา ควบคู่ไปกับ จิตใจจนบริสุทธิ์หลุดพ้น เมื่อนั้นความแตกต่างทางความคิดก็จะหมดสิ้นไป 3. สรรพสัตว์ทั้งปวงที่ต่างยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไปในภพภูมิต่างๆ เพราะประกอบเหตุเป็น เครื่องพันธนาการคือกรรมที่ตนเองได้ตั้งใจกระทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม 4. การดำเนินชีวิตมีพื้นฐานอยู่ในเรื่องของกรรม ความรู้เรื่องกรรมมีความสัมพันธ์กับทุกอย่าง รอบตัว เมื่อเราศึกษาเรื่องกรรมจะทำให้เกิดความเข้าใจจับแง่คิดกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ทำให้เราไม่ประมาทและดำเนินชีวิตได้ถูกต้องตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาทราบว่าพฤติกรรมเช่นไรเป็นกรรมดี เช่นไรเป็นกรรมชั่ว แล้วเลือกประพฤติ ปฏิบัติแต่กรรมดีเท่านั้น 2. เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงแนวความคิดเรื่องกฎแห่งกรรมของลัทธิความเชื่อต่างๆ ที่เป็นมิจฉา ทิฏฐิ 3. เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงผลของการทำดีและผลของการทำชั่ว แล้วเลือกทำแต่กรรมดี ละกรรมชั่ว บ ท ที่ 1 ค ว า ม รู้เบื้ อ ง ต้ น เ รื่ อ ง ก า แ ห่ ง ก ร ร ม DOU 3
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More