การเวียนว่ายตายเกิดและความหมายของสังสาร GL 203 กฎแห่งกรรม หน้า 16
หน้าที่ 16 / 214

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายความหมายของคำว่า สังสารวัฏ เชื่อมโยงกับการเวียนเกิดเวียนตายซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรม มันยกตัวอย่างการเกิดที่เกิดจากการกระทำดีและชั่ว รวมถึงผลที่ตามมาของการกระทำดังกล่าว ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาควรทำความเข้าใจคำว่า สังสารให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิด และเป็นการส่งเสริมให้ผู้คนเห็นคุณค่าในชีวิตและกรรมของตนเอง นอกจากนี้ยังหยิบยกประวัติของโรหิตัสสเทพบุตรที่พยายามค้นหาสุดยอดของโลกเพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถนิยามหรือกำหนดได้ง่ายดาย ดั่งคำสอนของพระพุทธองค์ที่บอกว่าสัตว์ไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้หากยังต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสาร.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสังสารวัฏ
-กรรมและผลกรรม
-การเวียนว่ายตายเกิด
-ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา
-ตัวอย่างจากประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้พลิกผันไปในทิศทางที่ผู้นั้นได้กำหนดเอง เพราะว่าสัตวโลกมีความเป็นอยู่และเป็นไปตามกรรม ทำ อย่างไรได้คืนอย่างนั้น ทำดีก็ได้รับผลดีมีสุขสบาย ทำชั่วก็ได้รับผลชั่วเป็นทุกข์ยากแค้นแสนลำบาก เหมือน ปลูกต้นถั่วได้ผลเป็นถั่ว ปลูกงาก็ได้ผลเป็นงา ไม่ใช่ปลูกต้นถั่วแต่ได้ผลเป็นงา ความเป็นมาของคำว่า สังสารวัฏ หรือวัฏสงสาร เป็นการประกอบคำเพื่อให้เกิดความหมายที่ เด่นชัดเข้าใจง่ายสำหรับคนรุ่นหลัง แต่เดิมจะใช้ คำว่า สังสาร หรือวัฏฏะ เฉพาะคำใดคำหนึ่ง ภายหลัง จึงใช้คำทั้งสองควบกัน แต่ยังคงความหมายเดิม แปลว่า การท่องเที่ยวไป การเดินทาง การหมุนเวียน หมายถึง การท่องเที่ยวไป การเดินทางไกล การเวียนเกิดเวียนตายจากภพนี้ไปสู่ภพหน้าและภพต่อๆ ไป เวียนว่ายตายเกิดไปจนกว่าจะดับกิเลสหมดสิ้น ตัวอย่างเช่น ชาตินี้เกิดเป็นมนุษย์ เมื่อละโลกไปเกิด ในสุคติภูมิ แต่เมื่อหมดอายุของชาวสวรรค์ ก็ต้องจุติบังเกิดใหม่ทันที อาจจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก หรือ ไม่ก็อาจจะพลัดไปเกิดในทุคติภูมิ อย่างนี้เรียกว่า เวียนว่ายตายเกิด เวียนเกิดเวียนตายไปเรื่อยๆ ซ้ำไปซ้ำ มาไม่ขาดสาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าปรารถนา เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า “สัตว์เวียนว่ายไปยังสังสาร ย่อม ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ และทุกข์เป็นภัยใหญ่คุกคามเขา” ปัจจุบันภาษาไทยเอาคำว่า สังสาร มาใช้เป็น คำว่า สงสาร ซึ่งให้ความหมายที่ผิดแผกแตกต่างไปจากความหมายเดิมมาก เป็นคำที่ใช้แสดงความเห็นอก เห็นใจต่อผู้อื่นที่ประสบทุกข์ เช่น “ได้โปรดเถอะ สงสารกันหน่อยได้ไหม” จึงควรทำความเข้าใจคำว่า สังสารให้ดีจะได้ไม่เห็นผิดพลาดคลาดเคลื่อนซึ่งอาจจะมีผลต่อการกระทำผิดได้ เหมือนองศาที่จุดเริ่มต้น เบี่ยงเบนผิดไปเพียงเสี้ยวแต่เมื่อห่างไกลมากเข้าค่าองศาจะเบี่ยงเบนมากขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่ออ่านตำราทางพระพุทธศาสนามักจะพบคำว่า สัตว์" เสมอๆ คำนี้ แปลว่า ผู้ติดข้องพอใจ ยินดีอยู่ในขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ มีกายและวิญญาณ ได้แก่ มนุษย์ เทวดา พรหม มาร เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ทั้งหมดนี้ เรียกรวมว่าหมู่สัตวโลก ฉะนั้นเมื่อนักศึกษาพบคำนี้ก็ให้ทราบว่าเป็นคำกลางๆ ไม่เจาะจงแต่เพียงสัตว์เดรัจฉาน การสืบค้นหาจุดกำเนิดเริ่มต้นของสังสารจนถึงวันสิ้นสุดนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะกำหนดหากันได้ง่ายๆ เพราะตราบใดที่สรรพสัตว์ยังมีอวิชชาคือไม่รู้บดบังปิดกั้นความรู้จริงเอาไว้ ตราบนั้นกิเลสตัณหาคือความ เศร้าหมองเพราะความทะยานอยากก็จะไม่สิ้นสุด การเวียนเกิดเวียนตายของแต่ละชีวิตก็ยังคงดำเนินต่อไป ปัจจุบันศาสตร์สมัยใหม่ต้องการค้นพบสิ่งอื่นนอกเหนือจากโลกของเราด้วยการเดินทาง แนวความคิดนี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพุทธกาล กล่าวคือ โรหิตัสสเทพบุตร อดีตเคยเป็นฤาษีมีฤทธิ์ พยายามค้นหา ที่สุดของโลกตลอดชีวิตถึงร้อยปี ไม่หยุดพักดื่มกินขับถ่าย ฤาษีท่านนี้สามารถย่างเท้าก้าวหนึ่งจากขอบ มหาสมุทรทิศตะวันออกไปจรดขอบมหาสมุทรทิศตะวันตกแต่ที่สุดแล้วก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จเพราะจบ 2 สัมปสาทนียสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 89 หน้า 202 จุลลนันทิยชาดก, ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 57 ข้อ 294 หน้า 389 ปฐมชนสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 167 หน้า 277 “พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9, ราชบัณฑิต), คำวัด 5, (กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง, 2546), หน้า 115 6 DOU กฎ แ ห่ ง ก ร ร ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More