ความยากจนและการจัดการในหลักพุทธศาสนา GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 22
หน้าที่ 22 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอภาพถ่ายชีวิตของคนยากจนและความยากลำบากที่พวกเขาต้องเผชิญ รวมถึงการสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับความยากจน และการป้องกันไม่ให้ชาวพุทธต้องประสบกับความยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ยอมแพ้ต่อความยากจนและการสร้างบุญเพื่อพัฒนาตนเอง.

หัวข้อประเด็น

-ชีวิตคนจน
-ความเจ็บปวดจากคำดูถูก
-คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับความจน
-อิณสูตรและการไม่ยอมแพ้ต่อความจน
-บทบาทของความรวยในพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อากาศให้ได้ ถ้าทนไม่ได้ก็คืออดตาย คืออดตาย ชีวิตของคนจนจึงเป็นชีวิตที่ต้องทนกับความร้อนและความหนาวของสภาพดินฟ้า ชีวิตของคนจนต้องอดทนกับคำพูดดูถูกเหยียดหยามให้เจ็บช้ำน้ำใจให้ได้ ถ้าทนไม่ได้ก็ ชีวิตของคนจนต้องก้มหน้าทนให้ความอยุติธรรมโขกสับสารพัด ถ้าทนไม่ได้ก็คืออดตาย นี่คือสภาพของคนจนที่ไม่มีวันบรรยายได้หมดสิ้นพอ ๆ กับการได้ยินได้ฟังเสียงร่ำไห้ของ คนยากจนที่ไม่เคยเว้นวรรคแม้แต่นาทีเดียวในโลกนี้ เพราะถ้าพวกเขาทนความจนไม่ได้นั่นก็คือ อดตาย ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงไม่ต้องการให้ชาวพุทธต้องไปเกิดเป็นคนยากจน พระองค์ทรงต้องการให้รื้อผังความยากจนออกไปจากชีวิตให้หมดสิ้น ด้วยการทรงชี้โทษของ ความจนไว้ต่างๆ นานา และพรรณนาถึงคุณของการแก้ปัญหาความจนอย่างถูกหลักวิชาไว้ มากมาย ซึ่งหากกล่าวโดยย่อมี 3 ประการ 1. พระองค์ทรงตำหนิความยากจนไว้ใน “อิณสูตร” 2. พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าความยากจนบีบคั้นให้มนุษย์ทำความชั่วได้ง่าย 3. พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าความรวยเป็นคุณูปการให้สร้างบุญได้ง่าย โดยสามารถอธิบายรายละเอียดแต่ละหัวข้อได้ดังนี้ 1.3.1 พระพุทธองค์ทรงตำหนิความยากจนไว้ใน “อิณสูตร” ในเรื่องการสร้างตัวสร้างฐานะของชาวพุทธนั้นพระพุทธองค์ไม่เคยทรงห้ามชาวพุทธรวย แต่ในทางตรงกันข้าม พระองค์ทรงห้ามชาวพุทธยอมแพ้ความยากจนโดยทรงถึงกับแจกแจงความ ทุกข์ของคนจนอย่างหมดเปลือกเพื่อให้ชาวพุทธเห็นโทษภัยของความยากจนใครที่กำลังอยู่ในวัย ที่กำลังสร้างตัวสร้างฐานะจะได้ไม่เกียจคร้าน ส่วนผู้ที่ตั้งหลักฐานได้แล้ว จะได้ไม่ประมาทใน การสร้างบุญ ดังปรากฏใน “อิณสูตร” โดยพระพุทธองค์ได้ตรัสถึงความจนเอาไว้ว่า “ความเป็นคนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก” และทรงได้อธิบายไว้ดังนี้ 1) ความจนเป็นทุกข์ของคนในโลกที่ยังครองเรือนอยู่ อิณสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เล่ม 36 ข้อ 316 หน้า 664 บทที่ 1 ความเข้าใจถูกในการสร้างตัวสร้างฐานะ ตามพุทธวิธี DOU 11
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More