ข้อความต้นฉบับในหน้า
กาฬกรรณี มิตรแท้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ในครั้งพุทธกาล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมีสหายคนหนึ่งเป็นสหายเล่นฝุ่นกันมา และ
เคยเล่าเรียนวิชาในสำนักอาจารย์เดียวกันมา ชื่อว่ากาฬกรรณี เมื่อกาลเวลาผ่านไป นายกาฬ-
กรรณี กลายเป็นคนตกยาก ไม่สามารถจะหาเลี้ยงชีวิตได้ จึงไปหาท่านอนาถบิณฑิกะ ท่านก็
ปลอบโยนนายกาฬกรรณี ได้ให้ทุนไปช่วยให้ตั้งหลักฐาน
นายกาฬกรรณีจึงช่วยเหลือทำการงานให้ท่านอนาถบิณฑิกะทุกอย่าง เวลาเขามาหา
ท่านอนาถบิณฑิกะ ทุกคนที่พูดกับเขาก็จะพูดว่า “หยุดก่อน กาฬกรรณี” “นั่งก่อน กาฬกรรณี
“เชิญรับประทานอาหารเถิด กาฬกรรณี”
อยู่มาวันหนึ่ง หมู่มิตรสหายของท่านอนาถบิณฑิกะพากันเข้าไปหาท่านอนาถบิณฑิกะ
แล้วต่างขอร้องว่า “ท่านมหาเศรษฐี ท่านอย่าเลี้ยงนายกาฬกรรณีไว้เลย เพราะได้ยินเสียงพูดว่า
“หยุดก่อน กาฬกรรณี” “นั่งก่อน กาฬกรรณี” “เชิญรับประทานอาหารเถิด กาฬกรรณี” แม้
ยักษ์ก็ยังหนีเขาเทียบกันไม่ได้เป็นคนตกยากเข็ญใจ นายคนนี้ไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับท่าน
ท่านอนาถบิณฑิกะกล่าวว่า “ชื่อก็เป็นเพียงคำเรียกขาน เหล่าบัณฑิตชน ไม่ถือข้อนั้น
เป็นสำคัญ คนเราไม่ควรจะถือสุตมังคลิกะ (หมายถึง การถือมงคลจากเสียงที่ได้ยิน ซึ่งความจริง
ไม่ใช่มงคล มงคลที่แท้จริงมี 38 ประการ) ข้าพเจ้าไม่สามารถจะทอดทิ้งเพื่อนที่เล่นฝุ่นกันมา
เพราะเหตุเพียงชื่อ” แล้วมิได้ยึดถือคำของคนเหล่านั้น
วันหนึ่งท่านอนาถบิณฑิกะ จะไปหมู่บ้านส่วย” ของตนจึงมอบหมายให้นายกาฬกรรณี
ดูแลรักษาเคหสถาน
พวกโจรได้ยินข่าวว่า ท่านอนาถบิณฑิกะไปหมู่บ้านส่วย คิดจะปล้นบ้านท่านอนาถ
บิณฑิกะ จึงเตรียมอาวุธครบมือ พากันมาล้อมบ้านท่านอนาถบิณฑิกะในเวลากลางคืน
ฝ่ายนายกาฬกรรณี ระแวงกลัวพวกโจรจะมาปล้นจึงนั่งเฝ้าไม่ยอมหลับนอน ครั้นรู้ว่า
พวกโจรมาล้อมบ้านจึงตะโกนสั่งให้คนเป่าสังข์ ตีกลอง เหมือนจะทำให้ครื้นเครงใหญ่โต กระทำ
ให้นิเวศน์ทั้งหมดมีเสียงสนั่นตลอด เพื่อจะปลุกให้ประชาชนพากันตื่น
พวกโจรปรึกษากันว่า “ข่าวที่ว่าเรือนว่างเปล่าพวกฟังมาเหลวแล้ว ท่านมหาเศรษฐียัง
อยู่นี่” จึงพากันทิ้งก้อนหินและไม้พลองไว้ในที่นั้นแล้วหนีไป
1โภคคาม บ้านส่วย คือ หมู่บ้านที่พระเจ้าแผ่นดินยกให้เก็บภาษี
บ ท ที่ 6 อานิสงส์ ข อ ง ก า ร ส ร้ า ง ตั ว ส ร้ า ง ฐ า น ะ ต า ม พุทธวิธี DOU 237