ข้อความต้นฉบับในหน้า
หมวดที่ 2 ว่าด้วยการเพิ่มพูนความบริสุทธิ์ เพื่อกำจัดกิเลสตระกูลโทสะโดยมุ่งป้องกัน
ตนไม่ให้ทำความชั่ว เช่น การรักษาศีล การขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ การมีความเคารพ
อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม เป็นต้น เรียกสั้น ๆ ว่า “ศีล”
หมวดที่ 3 ว่าด้วยการเพิ่มพูนปัญญา เพื่อกำจัดกิเลสตระกูลโมหะ โดยมุ่งฝึกฝนอบรม
ตนเองให้ฉลาด มีสติปัญญาดี เช่น การทำภาวนา การฟังธรรม การสนทนาธรรม เป็นต้น และ
เรียกสั้นๆ ว่า “ภาวนา”
วัฒนธรรมทั้งสามหมวดหมู่นี้ แต่ละหมวดยังแบ่งย่อยออกเป็น 4 แขนง ได้แก่
1) คติธรรม หมายถึง ธรรมะประจำใจอันเป็นหลักดำเนินชีวิตของแต่ละคนให้ถูกต้อง
เหมาะสม เพื่อใช้ในการสอนตัวเอง เตือนตัวเอง ไม่ให้แชเชือนออกไปนอกทาง มีแต่เร่งเร้าให้
ทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป
2) เนติธรรม หมายถึง กฎหมาย ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี อันเป็น
เครื่องประกันสวัสดิภาพในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและขัดเกลาจิตใจของหมู่คณะให้ดีขึ้น
3) วัตถุธรรม หมายถึง อาคารสถานที่ ปัจจัย 4 วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ งานศิลปกรรม
การแต่งกาย เป็นต้น ต้องมีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่
ผู้อยู่อาศัยและผู้พบเห็น และไม่เป็นข้าศึกต่อการทำความดี
4) สหธรรม หมายถึง มารยาทในการติดต่อกับบุคคลอื่น และการเข้าสู่สาธารณสังคม
ทั่วไป เพื่อให้สังคมยอมรับ ไม่จับผิดคิดในแง่ลบ
วัฒนธรรมชาวพุทธทั้งสามหมวดที่นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ
3 คือ ทาน ศีล ภาวนา เป็นเครื่องมือพัฒนาใจให้พ้นจากความทุกข์เศร้าหมองทั้งหลาย และ
เพิ่มพูนทั้งปัญญา ความบริสุทธิ์ และความกรุณาไปด้วยในตัว โดยผ่านการแตกแขนง
วัฒนธรรมออกมาในรูปแบบของคติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรม และสหธรรม ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติ
อย่างสม่ำเสมอนั้น นอกจากได้รับ “นิสัยที่ดี” แล้ว ย่อมได้ “ผลบุญ” เป็นเสบียงติดตัวไปข้าม
ภพข้ามชาติอีกด้วย
3. มีวิธีถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดี
การถ่ายทอดวัฒนธรรม โดยพื้นฐานมีอยู่ 2 ประการ คือ “แนะดี” กับ “นำดี”
“แนะดี” คือ ต้องถ่ายทอดเนื้อหาของการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาทั้งภาค
ทฤษฎีและปฏิบัติให้ครบถ้วน 4 ประเด็น ได้แก่ อะไร (What) ทำไม (Why) ทำอย่างไร (How)
บทที่ 4 จั ก ร ธ ร ร ม ห ลั ก การพัฒนาตนเอง และฐานะทางเศรษฐกิจ... DOU 169