ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตลอดเวลา ไม่ควรทำหน้าบูดบึงอารมณ์เสียใส่ลูกค้า เพราะวันนี้ลูกค้าอาจจะไม่ซื้อ แต่หาก
ลูกค้าประทับใจ
วันอื่นลูกค้าก็จะกลับมาซื้ออีกแน่นอน
4.2) รู้จักให้สิ่งมีประโยชน์แก่ลูกค้า
ผู้ขายต้องเสนอสินค้าแก่ลูกค้าตามความเป็นจริง สินค้าของเรามีรายละเอียด คุณภาพ
อย่างไร ใช้งานอย่างไร ต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจชัดเจนเสียก่อน ไม่ควรหลอกขายสินค้าที่
ด้อยคุณภาพ หรือ โฆษณาเกินจริง หรือลูกค้าบางคนไม่มีความรู้ ก็ต้องอธิบายให้ความรู้
แนะนำช่วยเหลือลูกค้าให้เข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ แม้จะไม่ซื้อสินค้าของเราก็ตาม
4.3) รู้จักอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
ผู้ขายต้องให้ความสำคัญกับการบริการเพราะการบริการเป็นสิ่งสำคัญของการขายลูกค้า
มีความต้องการอย่างไร ผู้ขายต้องอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในทุกๆ ด้าน เช่น ตัวอย่างสินค้า
พื้นที่สำหรับลูกค้าได้เลือกชมสินค้า เก้าอี้สำหรับนั่ง ห้องน้ำสะอาด ให้การต้อนรับลูกค้า
เหมือนญาติผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมเยียนถึงบ้าน
4.4) รู้จักผูกใจลูกค้าที่เป็นคนดีมาเป็นลูกค้าประจำ
ผู้ขายต้องใส่ใจกับลูกค้าที่เป็นคนดี เพราะการค้าขายกับคนดีย่อมสบายใจกว่าคนไม่ดี
ฉะนั้นการผูกใจให้สนิทสนมคุ้นเคยกันไว้เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ จะได้ติดต่อค้าขายกันได้นาน ๆ
การได้คนดีมาเป็นลูกค้าจะมีแต่ช่วยกันเจริญก้าวหน้า เพราะคนดีจะไม่ชักชวนไปในทางที่เสื่อม
หรือพาให้ฉิบหาย ตรงกันข้ามกับคนพาล หากพบพานมากๆ เข้าก็มีแต่จะล่มจม มีแต่จะเสื่อม
ทั้งชีวิต ธุรกิจการค้าที่เดียว
ความขยันให้การหาทรัพย์เป็น จึงเป็นต้นทางของการสร้างฐานะให้ร่ำรวย ประการแรก
และเป็นความเก่งที่สามารถเรียนรู้และสร้างขึ้นมาในตนเองได้ แต่จะสร้างฐานะให้ร่ำรวยได้
อย่างแน่นอนต้องเป็นความเก่งบวกกับความเฮงที่ได้มาจากการสร้างบุญ
3.7.2 ได้ทรัพย์เพราะการส่งผลของบุญที่ทำไว้ดีแล้วในอดีต
การสร้างฐานะ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพ ทำธุรกิจประเภทใด ย่อมต้องการกำไรสูงสุด
เป็นเป้าหมาย แต่หลายครั้งจะพบว่า แม้จะขยันทำเต็มที่เพียงใดก็ไม่ได้ผลตามที่ตั้งใจไว้ ความ
ก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ไม่สูงขึ้น เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องบุญ ที่ส่งผลกระทบต่อการสร้าง
ฐานะของตน พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ใน “วาณิชชสูตร” มีใจความสรุปได้ว่า
บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 79