ข้อความต้นฉบับในหน้า
4. โอปปาติกะกำเนิด คือ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ แต่อาศัยผลกรรม
ในอดีตได้แก่ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย แล
และเมื่อเกิดแล้วก็โตทันที
กำเนิด 3 ประเภทแรก เป็นเรื่องเข้าใจง่าย สำหรับผู้คนโดยทั่วไป เพราะเป็นเรื่องจริงที่
ได้รู้ได้เห็นกันในชีวิตประจำวัน ส่วนกำเนิดในข้อ 4 นั้น ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
และปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ใดๆ ให้ส่องดูได้ กระนั้นก็ตาม ผู้ที่มีใจสว่างสามารถ
ตรองหาเหตุผลจนเกิดความเข้าใจถูกทั้ง 8 ข้อ ดังที่ผ่านมาแล้ว ถ้าได้รับการอธิบายชี้แนะที่
เหมาะสมจากผู้มีธรรม ก็สามารถตรองตามและเกิดความเข้าใจได้โดยไม่ยากนัก
เช่นกรณีของผึ้งกับแมลงวัน แมลงทั้งคู่มีการเสพคุ้นต่างกัน ถ้านำมาขังไว้ในที่เดียวกัน
สักระยะหนึ่ง แล้วปล่อยออกไป แมลงทั้งสองตัวก็จะแยกกันไปสู่ ณ ที่ที่มันเสพคุ้น แมลงผึ้งย่อมบิน
ไปหาน้ำหวานตามดอกไม้ ส่วนแมลงวันย่อมบินไปสู่ที่สกปรกโสโครก
คนดีนั้นเปรียบได้กับผึ้ง คิดสร้างแต่กรรมดีจนคุ้นเป็นนิสัย ส่วนคนเลวนั้นเปรียบได้
กับแมลงวัน คือ ชอบทำแต่กรรมชั่วเป็นอาจิณ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปในร่างที่เหมาะสม กับ
กรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองได้ทำไว้
สาระสำคัญยิ่งของสัมมาทิฏฐิข้อที่ 9 ก็คือ โอปปาติกะมีจริง นรกและสวรรค์ซึ่งเป็นที่เกิด
ที่อยู่ของเหล่าโอปปาติกะก็มีจริง ทั้งนรกและสวรรค์ต่างอยู่พ้นจากโลกมนุษย์ และสายตามนุษย์
แต่ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ไม่พ้นจากอำนาจกิเลส และไม่พ้นทุกข์
สัมมาทิฏฐิข้อที่ 10 สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่ง
ประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่ในโลก
1) ความหมายและขอบเขต
ประการแรก สมณพราหมณ์ท่านนั้นๆ ย่อมหมายถึง พระอรหันต์
ประการที่สอง ประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง ย่อมหมายถึง ความรู้แจ้งในสังสารวัฏ
คือ การเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง
ประการที่สาม สาเหตุที่ท่านรู้ยิ่งด้วยตนเอง ก็เพราะท่านตั้งใจทุ่มเทประพฤติดี ปฏิบัติ
ชอบด้วยการละกรรมชั่วทั้งปวง ทำกรรมดีให้ถึงพร้อม และทำใจให้ผ่องใสอย่างไม่ลดละ ถึงขั้น
สว่างโพลงเกิดทิพยจักษุ ธรรมจักษุหรือญาณทัสสนะไปตามลำดับ จนสามารถรู้แจ้งโลกนี้
โลกหน้า ได้ด้วยตนเอง รู้วิธีประกาศโลกนี้โลกหน้า เป็นกัลยาณมิตรแก่ชาวโลก
บทที่ 2 ฆราวาสธรรม คุณสมบัติ ของ ผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่ DOU 41