การพัฒนาวัดสู่การศึกษาธรรมะ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 143
หน้าที่ 143 / 263

สรุปเนื้อหา

ความสะอาดและการจัดระเบียบภายในวัดช่วยทำให้จิตใจสงบ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีความคิดในแง่ดี และอยากมาวัดอีก การเทศน์สอนและการนั่งสมาธิเป็นวิธีการที่พระภิกษุใช้เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติต่อเมื่อกลับบ้าน แม้ในยุคเทคโนโลยี ทว่า คนยังคงมีความต้องการในการเรียนรู้และสงบจิตใจ ดังนั้นการพัฒนาวัดให้เป็นที่เรียนรู้ทางศีลธรรมจึงสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้คนหลีกหนีจากทุกข์และพึ่งพาธรรมะอย่างจริงจัง อีกทั้งวิธีการทำสมาธิในวัดยังช่วยให้จิตใจสงบง่ายกว่าที่บ้านที่มีสิ่งรบกวน ไม่ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน แต่ธรรมะยังคงมีคุณค่าที่ช่วยให้คนจัดการกับความทุกข์ และไปหาความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

- การพัฒนาวัด
- การสอนธรรมะ
- การทำสมาธิ
- ความสำคัญของศีลธรรม
- ความสงบในจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความสะอาดเป็นระเบียบภายในวัด ก็ทำให้ใจเกิดความสงบ และเกิดความคิดในแง่ดีได้ง่าย เท่ากับกรองความร้อนในใจของเขาให้เบาบางลงไประดับหนึ่ง และทำให้อยากมาวัดอีก 2) ขยันเทศน์สอน หมายถึง การหมั่นศึกษาค้นคว้าธรรมะทั้งในแง่ทฤษฎีและในแง่ ปฏิบัติอยู่เสมอ แล้วนำมาฝึกอบรมตัวเองก่อน จากนั้นจึงนำสิ่งที่ฝึกฝนอบรมตนเองได้นั้น มา เทศน์สอนชนิดที่บ่งความทุกข์ออกจากใจผู้ฟัง ไม่ว่าผู้ฟังจะอยู่ในวัยไหนเพศใด ก็ต้องเทศน์ให้ ตรงประเด็นของเขา เทศน์ให้เหมือนบ่งหนองออกจากแผล คือ ให้เขาฟังตามได้ง่าย ตรองตาม เหตุผลได้ง่าย และส่องหนทางปฏิบัติที่เกิดประโยชน์ต่อชีวิตเขาอย่างชัดเจน เมื่อนั้นความทุกข์ ร้อนในใจของประชาชนย่อมคลายตัวลงไป ทำให้อยากมาวัดอีก 3) ขยันนั่งสมาธิ หมายถึง การหมั่นทำภาวนากลั่นจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ซึ่งวิธีนี้ เป็นการมุ่งสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในจิตใจโดยตรง ตามธรรมดาของคนเรานั้น ถึงแม้จะ เทศน์สอนดีขนาดไหน แต่ผู้ฟังจะไม่สามารถจดจำไปได้ทั้งหมด เพราะจิตใจของชาวโลกนั้น มี เรื่องมากมายต้องคิดกังวล เพียงแค่เดินออกนอกประตูวัดไปเท่านั้น ความสงบที่เพิ่งได้จากการ ฟังธรรมเมื่อสักครู่ ก็แทบจะเลือนหายไปหมดสิ้นทีเดียว ดังนั้น นอกจากการเทศน์สอนแล้ว พระ ภิกษุยังต้องนำญาติโยมนั่งสมาธิด้วยเพื่อให้เขาเมื่อกลับไปถึงบ้านแล้วแม้จะจำคำเทศน์สอนไม่ได้ แต่ก็รู้จักวิธีสงบจิตใจของตนเองเป็น เพราะได้เคยฝึกนั่งสมาธิที่วัดมาแล้ว แต่เนื่องจากการนั่ง สมาธิท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีแต่งานและปัญหารอให้แก้ไขตลอดเวลา กว่าใจจะสงบได้ก็ใช้ เวลานานไม่เหมือนมานั่งที่วัด นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนอยากกลับมาวัดอีก เพราะ มาวัดแล้วนั่งสมาธิได้ความสงบจิตใจมากกว่าอยู่ที่บ้าน คาถาทั้ง 3 ประการนี้ พระภิกษุในสมัยก่อนใช้เป็นหลักในการพัฒนาวัดให้เป็น โรงเรียนสอนศีลธรรมประจำหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ธรรมะเผยแพร่ไปทั่วท้องถิ่น บางท่านอาจคิด ค้านว่า สมัยนี้เป็นยุคเทคโนโลยีใครเขาจะไปสนใจศึกษาธรรมะกัน ธรรมะเป็นของคร่ำครึล้าสมัย ไม่น่าสนใจ เพียงแค่ความคิดเริ่มต้นอย่างนี้ ก็กลายเป็นการตัดอนาคตที่สดใสของตนเอง ออกไปจากชีวิตอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวล้ำนำสมัยไปไกลสักเพียงไหน มนุษย์เราเมื่อถึงคราวมีความทุกข์ ยังต้องการหนีร้อนไปพึ่งเย็นอยู่ดี แต่เพราะไม่รู้มาก่อน ว่าการเข้าวัดมีประโยชน์อย่างไร ย่อมหาทางดับร้อนในใจของตนเองด้วยการไปฟังเพลง เที่ยว กลางคืน ตามผับตามบาร์ต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งอบายมุข เพราะเข้าใจว่าจะช่วยดับทุกข์ในใจตนเองได้ แต่ผลสุดท้ายกลับกลายเป็นเพิ่มทุกข์หนักให้ตนเองมากขึ้นไปอีก ดังนั้น ขอเพียงแต่วัดต่าง ๆ ยังยืนหยัดพัฒนาวัดให้เป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมสำหรับ 132 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาองค์กร และเศรษฐกิจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More