ศีลและจาคะในพุทธศาสตร์ GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 106
หน้าที่ 106 / 263

สรุปเนื้อหา

การรักษาศีลทำให้ผู้มีศีลได้รับโภคทรัพย์และความสะดวกในการใช้ชีวิต การได้ทรัพย์อย่างไม่ชอบธรรมก่อให้เกิดความทุกข์ ศีลทำให้ไปนิพพานได้ทั้งในขั้นต้นและขั้นสูง การไม่รักษาศีลมีโทษหลายประการ เช่น เสื่อมศักดิ์ เสื่อมโภคทรัพย์และหลงตาย ขยายความสำคัญของการให้ทานหรือจาคะเพื่อสร้างความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่นได้อย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-โทษของการไม่รักษาศีล
-นิพพานในพุทธศาสตร์
-การให้ทานและจาคะ
-เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หรือเป็นเทวดา นางฟ้า 2. ศีลทำให้มีโภคทรัพย์ คือ ย่อมทำให้ผู้รักษาศีลได้โภคทรัพย์และใช้สอยทรัพย์ ได้เต็มที่ ทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยความทุจริตย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายใจทุกครั้งที่เราคิดถึง หรือมองเห็น คนโบราณมักกล่าวว่า สิ่งของที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรมเปรียบเหมือนมีผีสิง ทั้งนี้ เพราะเจ้าของจะหวาดผวาทุกครั้งที่ได้เห็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยทุจริต เย็นเป็นสุข นิพพานทั้งสิ้น 3. ศีลทำให้ไปนิพพาน คำว่า นิพพาน มีความหมายเป็น 2 นัย คือ (1) นิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความสบายใจ จะอยู่ที่สุดก็สงบ (2) นิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้ที่หมดกิเลสย่อมได้ไป 6) ต้องเห็นโทษของการไม่รักษาศีล โทษของผู้ทุศีล มีอย่างน้อย 5 ประการ 1. เสื่อมจากโภคทรัพย์ 2. เสียชื่อเสียง 3. ไม่องอาจกล้าหาญในเวลาเข้าสังคม 4. หลงตาย คือตายอย่างไม่มีสติ 5. ตายไปเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 3.13 ทำอย่างไรจึง “มีจาคะ” การเป็นคนมีจาคะมีวิธีการดังนี้ 1) ต้องรู้ความสำคัญของการให้ทาน จาคะ แปลว่า สละ คือ การสละสิ่งของ ของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ความสำคัญของจาคะ คือ มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มจร. เล่ม 10 หน้า 77. บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุข... DOU 95
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More