ปุพเพกตปุญญตา: การสร้างวัฒนธรรมชาวพุทธที่ยั่งยืน GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ หน้า 36
หน้าที่ 36 / 263

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นการสร้างวัฒนธรรมชาวพุทธในท้องถิ่นที่เข้มแข็งโดยการสนับสนุนผู้คนให้มีสัมมาทิฏฐิและทำความดีอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เพื่อสร้างความสงบสุขในชุมชน รวมถึงการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากทิฏฐิมานะ โดยยกตัวอย่างการทำงานร่วมกันและการมีน้ำใจต่อกัน ซึ่งจะช่วยรักษาความสามัคคีและความมั่นคงในหมู่คณะให้ยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-การสร้างวัฒนธรรมชาวพุทธ
-การทำบุญและสัมมาทิฏฐิ
-การป้องกันทิฏฐิมานะ
-ความสามัคคีในหมู่คณะ
-การอยู่ร่วมกันอย่างสงบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. ปุพเพกตปุญญตา การเพียรสร้างวัฒนธรรมชาวพุทธในท้องถิ่นให้เข้มแข็งและยั่งยืน คือ การประพฤติตนเป็นต้นแบบต้นบุญด้วยการชักชวน สนับสนุน ส่งเสริมผู้คนในท้องถิ่นให้มี สัมมาทิฏฐิ เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม และหมั่นสั่งสมบุญอยู่เสมอ คือ หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อยู่เป็นประจำโดยไม่ขาดเลยแม้แต่วันเดียวจนกระทั่งกลายเป็นวิถีชีวิตประจำวัน ของทุกคนในท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินใน ปัจจุบันของคนในท้องถิ่นเอง หมู่คณะ 1.4.8 ต้องป้องกันต้นเหตุแห่งความวิบัติของการสร้างตนเอง-ฐานะ- แม้จะเพียรพัฒนาตนเองและฐานะทางเศรษฐกิจจนรุ่งเรืองกลายเป็นเครือข่ายหรือ หมู่คณะใหญ่ดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจจุดอ่อนของความเจริญรุ่งเรืองด้วย เพราะปัญหาที่เกิดซ้ำแล้ว ซ้ำอีกของการสร้างความดีแบบเป็นทีมใหญ่ก็คือ “ทิฏฐิมานะ” หรืออาการ “อวดดื้อถือดี” “ดูถูก ดูหมิ่นผู้อื่น” เป็นต้น เพราะจุดอ่อนของผู้ที่มีความสามารถก็คือต่างคนต่างก็มั่นใจในความรู้ ความสามารถของตนเองสูง จึงมักไม่ยอมฟังใคร ทำให้เกิดปัญหาความแตกความสามัคคี ตามมาในภายหลัง เข้าทำนอง “พระเอกตกม้าตายตอนจบ” สิ่งที่คนทั่วไปมักอวดดื้อถือดีหรือดูถูกดูหมิ่นใส่กัน มีอยู่ 6 ประการ คือ ชาติตระกูล รูปร่างหน้าตา ยศตำแหน่ง ความรู้ความสามารถ ทรัพย์สมบัติ และบริวาร เมื่อการคบหากันที่ต้องใช้ความจริงใจแลกความจริงใจมานี้ กลับกลายเป็นการดูถูก ดูหมิ่นกันเสียแล้ว ความแตกแยก การทะเลาะเบาะแว้ง ความผูกโกรธขัดเคืองแค้นใจกันก็ตาม มาทันที ผลสุดท้ายจึงพากันเสื่อมทั้ง นเสื่อมทั้งตนเอง เสื่อมมิตร และเสื่อมหมู่คณะ ดังนั้น เราจึงต้องมองเห็นโทษของความมีทิฏฐิมานะกันให้ชัดเจนก่อน จะได้สร้าง วัฒนธรรมของหมู่คณะให้มีการป้องกันความเสื่อมไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นการรักษารากฐาน ความดีของตนเอง ความมั่นคงในฐานะ และความสามัคคีของหมู่คณะไว้ได้เป็นปึกแผ่น บุคคลที่มีทิฏฐิมานะในระดับถึงขั้นอวดดื้อถือดีและดูถูกดูหมิ่นผู้อื่นนั้น ย่อมต้องพบ ความเสื่อม 3 ประการ ที่นำไปสู่ความเสื่อมอีกหลายประการในภายหลัง คือ 1. เสื่อมตน คือ เมื่อมีทิฏฐิมานะจนกระทั่งใคร ๆ ก็ไม่อาจเตือนได้ ย่อมตกอยู่ในความ ประมาท และเป็นเหตุให้พลาดพลั้งประกอบอกุศลกรรมบถ 10 ได้โดยง่าย เป็นเหตุให้ขาด ความสุขในการดำเนินชีวิต บทที่ 1 ความเข้าใจถูกในการสร้างตัวสร้างฐานะ ตามพุทธวิธี DOU 25
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More