ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไม่ใช่สาระ
ขาดความระมัดระวังในการทำกิจการทั้งหลาย ทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ ตามมา
- ขาดการยับยั้งตนเองไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม หรือมัวแต่ลุ่มหลงมัวเมา กับสิ่งที่
ขาดความจริงจังกับงาน ไม่ใส่ใจในการทำงาน ซึ่งจะทำให้พลาดประโยชน์ที่สมควร
จะได้ เสื่อมจากทรัพย์ที่รออยู่เบื้องหน้า
ขาดความสำนึกในหน้าที่ของตน ทั้งสิ่งที่ทำไปแล้ว และยังไม่ได้ทำ
ขาดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน เป็นต้น
2) เสื่อมจากกุศลกรรมบถ 10
กุศลกรรมบถ เป็นธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน เพื่อความเจริญในตัวของ
บุคคล ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ คือ
1. เว้นจาการฆ่าสัตว์
2. เว้นจาการลักทรัพย์
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการพูดส่อเสียด
6. เว้นจาการพูดคำหยาบ
7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
9. ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
10. มีความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ)
คุณธรรมทั้ง 10 ประการนี้ ทุกคนย่อมต้องฝึกฝนให้มีขึ้นในตน โดยเฉพาะผู้นำ และ
ผู้ที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ส่วนรวม จะต้องฝึกให้มีในตน เพื่อให้มีพื้นฐานใจที่ดี มีมาตรฐาน
ความคิดที่ถูกต้อง และให้การทำงานได้ผลดี แต่ถ้าใครก็ตามมีความอวดดื้อถือดี จะทำให้
ไม่สามารถดำรงอยู่ในกุศลกรรมบถได้ เพราะขาดความคิดว่าการกระทำที่ตนทำลงไปนั้นดี และ
ถูกต้องแล้วไม่ยอมรับฟังคำแนะนำสั่งสอนจากบุคคลรอบข้าง ยิ่งถ้าบุคคลนั้นมีความก้าวหน้า
ในหน้าที่การงานทรัพย์มาก ก็จะมีโอกาสพลาดพลั้งไปทำสิ่งที่ผิดเพิ่มขึ้นได้มากเช่นกัน เพราะ
มีวินิจฉัยผิด ไม่มีหลักการ ที่เป็นแนวความคิดที่ถูกต้อง แล้วยิ่งถ้าไม่มีใครอยากจะเข้ามา
แนะนำสั่งสอนให้ด้วยแล้ว ในที่สุดก็จะกลายเป็นการทำลายความดีในตัวของเรานั่นเอง
บทที่ 5 ต้นเหตุ แ ห่ ง ค ว า ม วิ บั ติ ข อ ง ค วามเจริญรุ่งเรือง DOU 181